การปกปิดความผิดหรือตำหนิของผู้อื่น
เขียนโดย อ.ยะห์ยา หัสการบัญชา
อยากให้อ่านให้เข้าใจแล้วพิจารณาเอาเองว่าในสังคมมุสลิมบ้านเราเป็นยังไง เพราะเห็นบางคนชอบออกตัวมาปกป้องคนที่ตัวเองชื่นชอบแบบไม่ลืมหูลืมตา บางคนก็ชอบยกคำกล่าวของสลัฟมาอ้างอิงแบบไม่ตรงประเด็น ถ้ายังไงช่วยกรุณาอ่านให้จบด้วยนะครับ จะได้แยกแยะได้มากขึ้นว่าใครที่เราสมควรปกปิดและใครที่เราสมควรเปิดโปงเพื่อเตือนให้สังคมรับรู้ถึงภัยอันตรายที่จะสร้างความหายนะ หรือความเสื่อมโทรมให้แก่สังคมโดยมีสาเหตุมาจากคนๆนั้น ขออัลลอฮฺทรงเมตตาและชี้นำเราทั้งหลายสู่แนวทางที่ถูกต้องเที่ยงตรงด้วยเถิด อามีน
เชคอุษัยมีนได้อธิบายเรื่องการปกปิดความผิดหรือตำหนิของผู้อื่นไว้ดังนี้
الحث على الستر على المسلم لقوله: “وَمَنْ سَتَرَ مُسلِمَاً سَتَرَهُ الله في الدُّنيَا
وَالآخِرَة”.
ส่งเสริมให้มีการปกปิดตำหนิของพี่น้องมุสลิม เนื่องจากคำกล่าวของท่านรอสูลที่ว่า “ผู้ใดก็ตามที่ปกปิด(ตำหนิ)ของพี่น้องมุสลิม อัลลอฮฺจะทรงปกปิด(ตำหนิ)เขาทั้งในโลกนี้และโลกหน้า
ولكن دلت النصوص على أن هذا مقيد بما إذا كان الستر خيراً،
แต่ทว่า หลักฐานทางบทบัญญัติศาสนาระบุว่าการปกปิดตำหนิในที่นี้ถูกจำกัดวงแคบไว้เฉพาะในเรื่องที่ปกปิดแล้วส่งผลดีกว่า
والستر ثلاثة أقسام:
และการปกปิดนั้นมีสามประเภทด้วยกันดังนี้
القسم الأول:أن يكون خيراً.
ประเภทแรก ปกปิดนั้นส่งผลดี
والقسم الثاني: أن يكون شراً.
ประเภทที่สอง การปกปิดนั้นส่งผลเสีย เลวร้าย
والقسم الثالث:لا يدرى أيكون خيراً أم شراً.
ประเภทที่สาม ไม่สามารถรู้ได้อย่างแน่ชัดว่าการปกปิดนั้นดีหรือไม่ดี
أما إذا كان خيراً فالستر محمود ومطلوب.
ซึ่งการปกปิดที่ส่งผลดี(ประเภทแรก)นั้นคือสิ่งที่ดีและศาสนาส่งเสริมให้กระทำ
مثاله:رأيت رجلاً صاحب خلق ودين وهيئة- أي صاحب سمعة حسنة – فرأيته في خطأ وتعلم أن هذا الرجل قد أتى الخطأ قضاءً وقدراً وأنه نادم، فمثل هذا ستره محمود ، وستره خير .
ยกตัวอย่างเช่น ท่านเห็นชายคนหนึ่งซึ่งเป็นผู้ที่มีมารยาทดี มีการประพฤติตนอยู่ในในคำสอนของศาสนา (คือเป็นผู้ที่มีประวัติดีงาม) โดยท่านไปเห็นเขากระทำความผิดโดยไม่เจตนา และเขาได้เสียใจในการกระทำนั้น คนประเภทนี้แหละที่การปกปิดตำหนิของเขาเป็นสิ่งที่ดีและส่งเสริมให้กระทำ
الثاني: إذا كان الستر ضرراً: كالرجل وجدته على معصية،أو على عدوان على الناس وإذا سترته لم يزدد إلا شراً وطغياناً، فهنا ستره مذموم ويجب أن يكشف أمره لمن يقوم بتأديبه، إن كانت زوجة فترفع إلى زوجها، وإن كان ولداً فيرفع إلى أبيه،وإن كان مدرساً يرفع إلى مدير المدرسة، وهلم جرا.
ประเภทที่สอง (การปกปิดเขานั้นส่งผลเสีย ,เป็นภัยอันตราย) ยกตัวอย่างเช่น ท่านพบว่าชายคนหนึ่งกระทำสิ่งฝ่าฝืนศาสนา หรือตั้งตัวเป็นศัตรูกับผู้คนทั้งหลาย และหากว่าท่านปกปิดความชั่วของเขา จะไม่เกิดผลดีอันใดนอกจากจะยิ่งเพิ่มความชั่วร้ายและการฝ่าฝืนที่หนักและมากขึ้น ซึ่งการปกปิดประเภทนี้แหละที่เป็นสิ่งที่ไม่ดี โดยจำเป็นจะต้องเปิดโปงเรื่องที่ไม่ดีของเขาให้กับผู้ที่สามารถทำการอบรมและขัดเกลาเขาให้ดีขึ้น โดยหากคนทำชั่วคนนั้นคือภรรยา ต้องมอบให้สามีของนางเป็นผู้อบรม และหากคนทำชั่วนั้นเป็นลูก ต้องมอบให้พ่อแม่ของเขาอบรม และหากคนทำชั่วนั้นเป็นครูอาจารย์ ต้องมอบให้ครูใหญ่เป็นผู้อบรม
المهم: أن مثل هذا لا يستر ويرفع إلى من يؤدبه على أي وجه كان،لأن مثل هذا إذا ستر- نسأل الله السلامة- ذهب يفعل ما فعل ولم يبال.
ซึ่งสิ่งที่สำคัญก็คือ จะต้องไม่ปกปิดตำหนิของคนประเภทนี้ และต้องส่งตัวเขาไปให้ผู้ที่มีความสามารถในการอบรมสั่งสอนเขา ไม่ว่าจะในด้านใดก็ตาม
เนื่องจากว่า คนประเภทนี้ หากว่าถูกปกปิดตำหนิแล้ว เขาจะยังคงกระทำความชั่ว และไม่ได้แคร์อะไรทั้งสิ้น
الثالث:أن لا تعلم هل ستره خير أم كشفه هو الخير:فالأصل أن الستر خير،ولهذا يذكر في الأثر( لأن أخطىء في العفو أحب إليّ من أن أخطىء في العقوبة)[252] فعلى هذا نقول: إذا ترددت هل الستر خير أم بيان أمره خير، فالستر أولى، ولكن في هذه الحال تتبع أمره، لا تهمله، لأنه ربما يتبين بعد ذلك أن هذا
الرجل ليس أهلاً للستر.
ประเภทที่สาม ไม่สามารถรู้ได้แน่ชัดว่าการปกปิดหรือเปิดโปงเขาอันไหนจะส่งผลดีหรือผลเสีย ให้ยึดหลักพื้นฐานคือ ปกปิดดีกว่า ด้วยเหตุนี้ จึงปรากฏคำกล่าวจากศอหาบะฮฺว่า “แน่แท้ว่าการที่ฉันผิดพลาดในการให้อภัยผู้อื่นมันเป็นสิ่งที่รักยิ่งสำหรับฉันมากกว่าการที่ฉันผิดพลาดในการลงโทษผู้อื่น”
ซึ่งคำกล่าวนี้อ้างอิงมาจากหะดีษของ่นรอสูลที่ว่า
[252] عن عائشة قالت قال رسول الله صلى الله عليه وسلم :” ادرءوا الحدود عن المسلمين ما استطعتم فإن كان له مخرج فخلوا سبيله، فإن الإمام أن يخطئ في العفو خير من أن يخطئ في العقوبة” أخرجه الترمذي – كتاب: الحدود، باب: ما جاء في درء الحدود، (1424). والحاكم في المستدرك – ج4، ص426، كتاب: الحدود،(8163). والدارقطني في سننه – ج3/ص84،( ، والبيهقي في سننه الكبرى – ج8،ص238، (16834). ورويت العبارة عن عمر بن الخطاب وعبدالله بن مسعود رضي الله عنهما، ولم أجدها عن علي بن أبي طالب رضي الله عنه.
รายงานจากท่านหญิงอาอิชะฮฺ ว่าท่านรอสูลได้กล่าวว่า “พวกท่านจงรัดกุมในเรื่องการลงโทษมุสลิมเท่าที่ท่านมีความสามารถเถิด และหากว่ามีทางออกที่จะยกโทษให้เขาก็จงปล่อยเขาไป เพราะผู้นำที่ผิดพลาดในการยกโทษย่อมดีกว่าผู้นำที่ผิดพลาดในการลงโทษ”
ดังนั้นการปกปิดในกรณีนี้ จึงดีกว่า แต่ทว่าในกรณีนี้ต้องทำการคอยติดตามพฤติกรรมของคนๆนั้นไปเรื่อยๆโดยอย่าได้ละเลย เพราะว่าบางทีกรณีของเขาจะสามารถตัดสินได้อย่างชัดเจนหลังจากนั้นว่า เขาคือผู้ที่สมควรจะปกปิดหรือไม่(ควรปกปิดหรือว่าเปิดโปงดีกว่า)
สาเหตุที่ยกมาทั้งต้นฉบับภาษาอาหรับและการแปลเป็นไทย เพื่อพิสูจน์ว่าผมไม่ได้บิดเบือนคำสอนของผู้รู้ และสามารถตรวจสอบได้จริง
อ้างอิงจาก ตำรา อธิบายสี่สิบหะดีษของอิมามอันนะวะวีย์ โดยเชคอุษัยมีน
หะดีษหมายเลขที่ 36 บันทึกโดยอิมามมุสลิม