ความรู้ 5 ประเภท มีอะไรบ้าง?
โดย อ.ยะห์ยา หัสการบัญชา
ท่านชัยคุลอิสลาม อิบนุตัยมียะฮฺได้กล่าวว่า
ท่านยะห์ยา บุตรของ อัมมาร กล่าวว่า
“ความรู้นั้นแบ่งเป็น 5 ประเภทด้วยกันดังนี้
1.ความรู้ที่มีสถานะเทียบเท่ากับชีวิตในโลกนี้ (ถ้าไม่มีความรู้ประเภทนี้ก็เหมือนคนไร้ชีวิต) คือ ความรู้เรื่องเตาฮีด
2.ความรู้ที่มีสถานะเทียบเท่ากับแหล่งอาหารของศาสนา (ขาดไม่ได้ เพราะคนเราต้องกินอาหารฉันใด คนเราก็ขาดความรู้ประเภทนี้ไม่ได้ฉันนั้น) คือความรู้ที่เกี่ยวกับการพิจารณาความหมายของอัลกุรอานและหะดีษ
3.ความรู้ที่มีสถานะเทียบเท่ายารักษาโรคของศาสนา คือ ความรู้ในเรื่องฟัตวา (การตัดสินและตอบปัญหาศาสนา) เมื่อมีประเด็นปัญหาเกิดขึ้นกับผู้คน แล้วเขาต้องการผู้ที่คลี่คลายและเยียวยาเขาให้หายข้องใจจากปัญหานั้น ดังที่อิบนุมัสอูดได้เคยกล่าวไว้
4.ความรู้ที่มีสถานะเทียบเท่าโรคร้ายที่เกิดขึ้นในศาสนา คือความรู้ที่เกี่ยวกับคำพูดแปลกปลอมต่างๆ (เช่นตรรกะและปรัชญาต่างๆที่ค้านกับคำสอนอิสลาม)
5.ความรู้ที่มีสถานะเทียบเท่าสิ่งที่มาสร้างความหายนะให้ศาสนา คือ ความรู้เรื่องไสยศาสตร์ และความรู้อื่นๆในทำนองนี้”
จากตำรา มัจมัวะอฺ อัลฟะตาวา เล่มที่ 10 หน้าที่ 145-146
ข้อความในวงเล็บคือคำอธิบายเสริมจากเจ้าของเฟสนี้
อ.ยะห์ยา หัสการบัญชา
العُلُومُ خَمْسَةٌ
قال شيخ الإسلام ابن تيمية -رحمه الله-:
“قَالَ يَحْيَى بْنُ عَمَّارٍ: العُلُومُ خَمْسَةٌ:
١- فَعِلمٌ هُوَ حَيَاةُ الدُّنْيَا.
وَهُوَ عِلمُ التَّوْحِيدِ.
٢- وَعِلمٌ هُوَ غِذَاءُ الدِّينِ؛ وَهُوَ عِلمُ التَّذَكُّرِ بِمَعَانِي القُرْآنِ وَالحَدِيثِ.
٣- وَعِلمٌ هُوَ دَوَاءُ الدِّينِ؛ وَهُوَ عِلمُ الْفَتْوَى إذَا نَزَلَ بِالعَبْدِ نَازِلَةٌ احْتَاجَ إلَى مَنْ يَشْفِيهِ مِنْهَا كَمَا قَالَ ابْنُ مَسْعُود.ٍ
٤- وَعِلْمٌ هُوَ دَاءُ الدِّينِ وَهُوَ الكَلَامُ المُحْدَثُ.
٥- وَعِلْمٌ هُوَ هَلَاكُ الدِّينِ؛ وَهُوَ عِلمُ السِّحْرِ وَنَحْوِهِ.”
مجموع الفتاوى (١٠/ ١٤٥-١٤٦)