สำหรับประเทศซาอุดิอาราเบียเราพบว่าเขาได้ระบุเงื่อนไขในการรับข่าวการเห็นเดือนเสี้ยวไว้ชัดเจนดังนี้
( نظراً لما يترتب على معرفة أول يوم من شهر شعبان من أهمية بالنسبة لشهر رمضان المبارك فإن وزارة العدل تقوم في شهر رجب من كل عام بالتعميم على المحاكم بأن على القضاة أن يؤكدوا على الناس تحرّي رؤية هلال شهر شعبان، وفي أواخر شهر شعبان تجتمع الهيئة القضائية العليا بوزارة العدل للاطلاع على ماورد من القضاة من شهادات برؤية هلال شهر شعبان، وبعد دراسة ذلك تصدر الهيئة القضائية قراراً بما ثبت لديها شرعاً عن أول يوم من شهر شعبان، وبناء على ذلك تعين الليلة التي يجري فيها تحري رؤية هلال رمضان من أيام الأسبوع، وهي ليلة الثلاثين من شعبان، ومن ثم يتم التعميم على القضاة بذلك، وفي ليلة الثلاثين من شعبان يكون القضاة على أهبة الاستعداد لاستقبال من يحضر إليهم شاهداً برؤية هلال رمضان، وبعد ضبط شهادته والتثبت من عدالته ومناقشته في شهادته كيف رأى الهلال وفي أي مكان رآه وكم من الزمن بينه وبين الشمس إلى غير ذلك من الأسئلة التي يقصد منها التحقق عن صحة إمكان رؤيته، بعد ذلك يبرق القاضي بشهادة الرؤية إلى وزارة العدل، وفي نفس الليلة تكون الهيئة القضائية منعقدة في مقر وزارة العدل للاطلاع على ماقد يرد من القضاة حوله، وعندما يثبت لدى الهيئة دخول الشهر تعد قراراً بذلك تثبت بموجبه دخول شهر رمضان المبارك، وبعد اعتماد ذلك القرار من المقام السامي يتم التعميم على القضاة وإبلاغه للمواطنين بواسطة الإذاعة والصحافة والتلفزيون) اللجنة الدائمة للبحوث العلمية والإفتاء الفتوى رقم: 256
(เมื่อพิจารณาถึงความสำคัญของการทราบถึงวันแรกของเดือนชะอ์บาน ซึ่งจะมีผลต่อเดือนรอมฎอนอันจำเริญ ทางกระทรวงยุติธรรมจึงได้มีคำสั่งตั้งแต่เดือนร่อญับ ไปยังศาลทั่วประเทศโดยให้บรรดาผู้พิพากษาทุกคนกำชับให้ผู้คนเฝ้าดูเดือนเสี้ยวของเดือนชะอ์บาน และในช่วงปลายเดือนชะอ์บาน คณะกรรมการตุลาการสูงสุดที่ขึ้นกับกระทรวงยุติธรรมจะทำการจัดประชุมเพื่อรับทราบข่าวการเห็นเดือนเสี้ยวที่แจ้งเข้ามาโดยผู้พิพากษาที่ได้รับข่าวการเห็นเดือนเสี้ยวของเดือนชะอ์บาน เมื่อได้ศึกษาและตรวจสอบแล้วทางคณะกรรมการตุลาการสูงสุดถึงจะมีคำสั่งประกาศวันแรกของเดือนชะอ์บานตามเงื่อนไขและกรอบของหลักการศาสนา และตามที่กล่าวแล้วนั้น การกำหนดวันเพื่อดูเดือนรอมฎอนในช่วงสัปดาห์สุดท้ายก็คือคืนวันที่สามสิบของเดือนชะอ์บาน(เย็นของวันที่ 29 คือเมื่ออาทิตย์ลับขอบฟ้าก็ถือว่าเข้าสู่วันที่สามสิบของเดือน เดือนอาหรับนั้นนับคืนก่อนวัน) และก็ได้มีคำสั่งไปถึงผู้พิพากษาทั่วประเทศว่าให้เตรียมรับข่าวการเห็นเดือนเสี้ยวของรอมฎอนซึ่งอาจจะมีการยืนยันการเห็นในคืนของวันที่ดังกล่าว
*********************
คือหลังจากที่ได้ตรวจสอบชะฮาดะห์ (การยืนยันว่าเห็นเดือนเสี้ยว) ตรวจสอบอะดาละห์(ความน่าเชื่อถือของผู้แจ้งข่าว)
ก็ให้ทำการซักถามถึงลักษณะการเห็นว่า
-เห็นอย่างไร
-เห็นที่ไหน
-ดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ตกห่างกันเป็นเวลาเท่าใด
-หรืออาจเพิ่มคำถามใดๆ อีกก็ได้เพื่อให้ได้รับความมั่นใจในการแจ้งข่าวนั้นจริงๆ
**********************
หลังจากนั้นก็ให้ผู้พิพากษาที่ได้ทำการตรวจสอบข่าวการเห็นเดือนเสี้ยว(โดยละเอียดตามขั้นตอนนั้นแล้ว)แจ้งมายังกระทรวงยุติธรรม ในคืนวันดังกล่าวทางคณะตุลาการสูงสุดก็จะทำการประชุม ณ ที่ตั้งของกระทรวงยุติธรรม เพื่อรอรับข่าวจากผู้พิพากษาที่จะแจ้งข่าวการเห็นเดือนเสี้ยวเข้ามา และเมื่อเป็นที่ยืนยันชัดเจนแล้ว ณ ที่คณะกรรมการตุลาการสูงสุดว่ามีการเห็นเดือนเสี้ยวจริง ทางคณะกรรมการฯ ก็จะออกคำสั่งเป็นทางการถึงการเข้าสู่เดือนรอมฎอน และมีคำสั่งกลับไปยังผู้พิพากษาให้ประกาศข่าวดังกล่าวแก่ประชนเพื่อให้ทราบโดยทั่วกัน ผ่านทางวิทยุ หนังสือพิมพ์ และโทรทัศน์)
คัดจากคำฟัตวาของคณะกรรมการถาวรเพื่องานวิจัยทางวิชาการและการฟัตวา ของประเทศซาอุดิอาราเบีย หมายเลขฟัตวาที่ 256
อนึ่ง เรายังไม่พบว่ามีประเทศมุสลิมใดๆ ได้แจ้งเงื่อนไขที่ชัดเจนในการรับข่าว ตรวจสอบข่าว และหลักการต่างๆ ของการรับข่าว เหมือนที่เราพบจากประเทศซาอุดิอาราเบีย แต่เรากลับพบว่าประเทศมุสลิมบางประเทศยึดหลักดาราศาสตร์ในการเข้าออกรอมฎอน
จากหนังสือวิเคราะห์หลักฐานการรับข่าวการเห็นเดือน ชุด 2