มัฏละอฺต่างๆ และการยึดจันทร์เสี้ยวจากการคำ

📍เรื่องมัฏละอฺต่างๆ และการยึดจันทร์เสี้ยวจากการคำนวณ
จากข้อเขียน อ.อิสหาก พงษ์มณี เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2557

มวลการสรรเสริญเป็นสิทธิ์ของอัลลอฮ์แต่ผู้เดียว ขอพรและความสันติสุข มีแด่ผู้ที่ไม่มีนบีใดหลังจากท่าน คือนบีมุฮัมหมัดของเรา และขอให้มีต่อวงศ์วานของท่าน ศ่อฮาบะห์ (สาวก) ทั้งหลายของท่านด้วยเทอญ

ตามที่มีหนังอังทรงเกียรติ หมายเลข (22451) ลงวันที่ 6/11/ฮศ.1391 โดยมีสาระสำคัญเรื่องเดือนเสี้ยว ที่ให้โอนเรื่องมายังคณะนักวิชาการปราชญ์อาวุโสพิจาณาตามเนื้อหาที่มีการศึกษาในที่ประชุมของ อัร-รอบิเฏาะห์ อัล-อิสลามมี มีขึ้นเมื่อ 15 ชะอฺบาน ปี ฮศ. 1391 และรับทราบผลการประชุมของคณะกรรมการฟิกฮ์ (นิติศาสตร์อิสลาม) ที่ขึ้นตรงต่อที่ประชุมฯ โดยมีมติเห็นชอบว่า “ไม่ยึดความแตกต่างของมะฏละอฺเป็นหลักในการพิจารณา” เพียงแต่สมาชิกสภาก่อตั้งบางท่านเห็นว่าควรจะชะลอเรื่องนี้ไว้ก่อนและให้ทำการค้นคว้าศึกษาเพิ่มเติมให้กว้างขวางยิ่งขึ้นที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้

ตามเหตุผลข้างต้น จึงได้มีการเสนอสิ่งที่คณะกรรมการถาวรเพื่อการวิจัยและตอบปัญหาศาสนาได้จัดทำขึ้นในเรื่องเกี่ยวกับจันทร์เสี้ยว ไปยังที่ประชุมคณะนักวิชาการปราชญ์อาวุโสที่มีขึ้นในเดือนชะอฺบานปี ฮศ. 1391 ซึ่งประกอบไปด้วยสองวรรค(สำคัญ)ดังต่อไปนี้
ก. ข้อตัดสินชี้ขาดเกี่ยวกับความแตกต่างของอัฏละอฺ ต้องนำมาพิจราณายึดถือหรือไม่
ข. การยืนยันจันทร์เสี้ยวด้วยการคำณวน

เช่นเดียวกับมติของรอบิเฏาะห์อัลอาลัม อัลอิสลามี่ ในการประชุมครั้งที่สิบสามจัดขึ้นเมื่อเดือนชะอฺบานปี ฮศ. 1391 โดยแนบบทวิจัยของคณะกรรมการฟิกห์ (นิติศาสตร์อิสลาม) ที่เป็นปัญหาจากสมาชิกของที่ประชุมรอบิเฏาะห์เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว หลังจากที่ (คณะนักวิชาการปราชญ์อาวุโส) ได้ทำการศึกษาในที่ประชุมแล้วจึงมีความเห็นและมีมติดังนี้

• ประการที่หนึ่ง ความแตกต่างของมัฏละอฺเป็นเรื่องทราบดีโดยทั่วไปไม่ว่าเป็นการรับรู้โดยหลักสัมผัสได้หรือด้วยหลักเหตุผลทางปัญญา ซึ่งเป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย แต่ที่มีข้อขัดแย้งกันในหมู่นักวิชาการมุสลิมนั้น คือความแตกต่าง (ของมัฏละอฺ) ดังกล่าวควรนำมาพิจารณายึดถือหรือไม่ (คือมีผลหรือไม่)

• ประการที่สอง ประเด็นเรื่องความแตกต่างของมัฏละอฺจะยึดถือเป็นหลักหรือไม่ เป็นปัญหาเชิงวิเคราะห์ ที่สามารถวินิจฉัยโต้แย้งได้ ทั้งเรื่องนี้และเรื่องอื่นที่ใกล้เคียงกัน ย่อมเกิด(ข้อวินิจฉัย)แตกต่างกันได้ในหมู่นักวิชาการ และมันเป็นข้อแตกต่างที่อาจเกิดขึ้นได้ สำหรับผู้ที่วินิจฉัยถูกย่อมได้ผลบุญเป็นสองเท่า คือผลบุญของการวินิจฉัยและผลบุญของการวินิจฉัยถูก แต่ผู้ที่วินิจฉัยผิดก็จะได้เพียงผลบุญเดียวคือผลบุญของการวินิจฉัยของเขาเท่านั้น

เรื่องนี้นักวิชาการมีความเห็น (ในเชิงวินิจฉัย) แตกต่างกันออกเป็นสองทัศนะคือ
ส่วนหนึ่งเห็นว่า พิจาณายึดถือข้อแตกต่างทางมัฏละอฺ เป็นหลัก แต่บางส่วนบอกว่าไมจำเป็นต้องยึดถือ ทั้งสองฝ่ายต่างอ้างอิงหลักฐานทั้งจากกิตาบุลลอฮ์และซุนนะห์ด้วยกัน บางทีก็ใช้หลักฐานเดียวกันก็มี เช่นอายะห์ที่ว่า “พวกเขาถามเจ้าเกี่ยวกับเดื่อนเสี้ยว จงกล่าวเถิดว่ามันเป็นหมายกำหนดเวลาแก่มวลมนุษย์และเรื่องฮัจญ์” และคำกล่าวของท่านนบี ศ้อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมที่ว่า “พวกท่านจงถือศีลอดเมื่อเห็นมัน(จัทรย์เสี้ยว)และจงออกจากการถือศีลอดเมื่อเห็นมัน (จัทรย์เสี้ยว)” อัลฮะดีษ ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่า มีความเข้าใจตัวบทที่แตกต่างกัน แต่ละฝ่ายก็อ้างอิงตามที่ตนเข้าใจ

ในระหว่างการประชุมของคณะฯ ได้มีการวิจัยค้นคว้าโดยพิจาณาทุกแก่ทุกมุม โดยเฉพาะปัญหาการยึดถือความแตกต่างทางมัฏละอฺหรือไม่ยึดถือนี้ ไม่ส่งผลเสียหายร้ายแรงใดๆ ที่จะต้องกังวล เพราะศาสนานี้ผ่านมาสิบสี่ศตวรรษแล้ว เราไม่เคยทราบว่ามียุคใดสมัยใดที่บังคับให้ประชาชาติที่ไม่รู้หนังสือนี้ต้องถือปฏิบัติตามการเห็นเดียว (เห็นจันทร์เสี้ยว) ดังนั้นสมาชิกของคณะนักวิชาการปราชญ์อาวุโส จึงเห็นควรให้เป็นไปดังที่เป็นมาแต่เดิม และอย่าได้จุดกระแสให้วุ่นวายในเรื่องดังกล่าว ประเทศอิสลามแต่ละประเทศมีสิทธิ์ที่จะเลือกยึดตามที่ปราชญ์ของตนเห็นตามทัศนะ(เชิงวินิจฉัย)ใดก็ได้ จากสองทัศนะที่กล่าวแล้วในประเด็นนี้ เพราะแต่ละทัศนะก็มีหลักฐานอ้างอิงด้วยกันทั้งสิ้น

• ประการที่สาม ส่วนการยืนยันจันทร์เสี้ยวด้วยการคำนวณ (ทางดาศาสตร์) หลังจากศึกษาตามที่คณะกรรมการถาวรฯ ได้ศึกษาไว้ และหลังจากย้อนกลับไปดูสิ่งที่นักวิชาการกล่าวไว้ คณะกรรมของคณะนักวิชาการปราชญ์อาวุโส จึงเห็นพ้องว่า ไม่ยึดการคำนวณเป็นหลักในการยืนยันจันทร์เสี้ยว เพราะคำพูดของท่านนบี ศ้อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมที่ว่า “พวกเท่านจงถือศีลอดเมื่อเห็นมัน (จันทร์เสี้ยว) และจงออกจากการถือศีลอดเมื่อเห็นมัน (จันทร์เสี้ยว)” อัลฮะดีษ และคำพูดของท่านนบี ศ้อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมที่ว่า “พวกท่านอย่าได้ถือศีลอดจนกว่าจะเห็นมัน (จันทร์เสี้ยว) และอย่าได้ออกจากการถือศีลจนกว่าจะเห็นมัน(จันทร์เสี้ยว) อัลฮะดีษ
ขออัลลอฮ์ทรงเตาฟีก (ประคับประคองให้ทุกคนอยู่ในหนทางที่ถูกต้อง) ขอพรและความสันติสุขจากอัลลอฮ์มีแด่นบีมุฮัมหมัดของเรา รวมถึงมีแด่วงศ์วานและสาวกทุกท่านเทอญ

✨คณะนักวิชาการปราชญ์อาวุโส

อัลดุรร๊อซซาก อะฟีฟี่ ประธานในที่ประชุม
คณะกรรมการประกอบด้วย
อับดุลอะซี๊ซ อิบนุ บาซ
เมี๊ยฮ์ฎอร อะกี้ล
มุฮัมหมัด อัลอะมีน อัชชังกีฏี่
อับดุลลอฮ์ อัลมะเนี๊ยอฺ
อัลดุลลอฮ์ คอยยาฏ
อับดุลลอฮ์ อิบนุ ฮุมัยดฺ
อับดุลอะซี๊ซ อิบนุ ซอและห์
อับดุลมะญี๊ด ฮะซัน
มุฮัมหมัด อัลฮัรกาน
สุไลมาน อิบนุ อุบัยดฺ
อิบรอฮีม อิบนุ มุฮัมหมัด อาลิลเชค
ซอและห์ อิบนุ ฆุซูน
รอชิด อิบนุ คุนัยน์
อับดุลลอฮ์ อิบนุ ฆุดัยยาน
มุฮัมหมัด อิบนุ ญุบัยรฺ
ซอและห์ อิบนุ ลุฮัยดาน