ครอบครัว

ทำความเข้าใจให้ถูกต้องเรืองมะฮัร แก้ปัญหาสังคม

ทำความเข้าใจให้ถูกต้องเรืองมะฮัร แก้ปัญหาสังคม_________________________เขียนโดย อ.ยะห์ยา หัสการบัญชา สังคมมุสลิมเรายังเข้าใจผิดๆเกี่ยวกับเรื่องการแต่งงานหลายประเด็น หนึ่งในเรื่องที่สำคัญก็คือ เรื่องมะฮัร (สินสมรส) ที่เข้าใจกันผิดๆว่า “เป็นเงินที่ผู้ใหญ่ฝ่ายหญิงมีสิทธิ์เรียกร้องให้เจ้าสาวตามที่พวกเขาพอใจ” บ้างก็เข้าใจว่า ” เป็นเงินที่ผู้ใหญ่ฝ่ายหญิงมีสิทธิ์ต้องได้รับส่วนแบ่งจากเจ้าสาวโดยไม่ต้องขออนุญาตจากเจ้าสาว “ บ้างก็เข้าใจว่า “เป็นเงินที่ผู้ใหญ่ฝั่งเจ้าสาว มีสิทธิ์กำหนดให้สูงหรือต่ำ ตามแต่วุฒิการศึกษาของเจ้าสาวที่สำเร็จการศึกษามา” บ้างก็เข้าใจว่า “เป็นเงินที่เจ้าบ่าวนำมาให้เจ้าสาว โดยผู้ใหญ่ฝั่งเจ้าสาวกำหนดมาว่าเป็นจำนวนเท่าใด เพื่อแสดงถึงหลักค้ำประกันทางฐานะว่า เจ้าบ่าวจะสามารถดูแลเจ้าสาวได้อย่างมั่นคง” …และอื่นๆอีกมากมายที่ไม่ได้นำมาบอกกล่าวกันในนี้… แต่ว่า…จะมีสักกี่คนเข้าใจว่า มะฮัร(สินสมรส)นั้นคือ “เงินหรือทรัพย์สิน หรือ สิ่งที่ดีมีประโยชน์ใดๆก็ตามที่เจ้าบ่าวใช้เป็นของขวัญ หรือ ใช้เป็นสื่อในการขออนุมัติให้การนิกาห์นั้นใช้ได้ถูกต้องตามหลักศาสนาอิสลาม โดยผู้ที่มีสิทธิ์ในการเรียกร้องว่าต้องการเท่าไหร่ คือ ตัวเจ้าสาวเอง และผู้ที่มีสิทธิ์ได้รับมะฮัรก็คือ ตัวเจ้าสาวเอง ส่วนผู้อื่นนอกจากเจ้าสาวนั้น ไม่มีสิทธิ์ใดๆในการได้รับส่วนแบ่งจากเงินมะฮัรนั้น นอกจากจะเป็นการยินยอมด้วยความพอใจจากเจ้าสาวที่จะมอบให้ใครหลังจากนั้น ตามความพอใจของนางเองเท่านั้น และผู้อื่นก็ไม่มีสิทธิ์ที่จะเรียกร้อง หรือบังคับกำหนดให้เจ้าสาวว่าต้องเรียกเอาเท่านั้นเท่านี้ หรือ เข้ามามีเอี่ยวในเงินมะฮัรด้วย สิ่งนี้ย่อมไม่ถูกต้องและขัดกับบทบัญญัติศาสนาอิสลามอย่างชัดเจน แต่สังคมมุสลิมเรากลับมีความเข้าใจที่ถูกต้องน้อยมากเกี่ยวกับเรื่องนี้ ท่านนบีกล่าวไว้ในหะดีษที่ถูกต้องบทหนึ่งซึ่งมีใจความว่า “สตรีที่ดีนั้นคือ หญิงที่แต่งงานโดยใช้มะฮัรไม่มาก และ สามารถไปมาหาสู่กันได้อย่างสะดวกง่ายดายระหว่างสองครอบครัว(ฝั่งชายและหญิง)” …ตกลงว่าเรากำลังสวนทางกับคำสอนของศาสนาใช่หรือไม่??? ตกลงว่าเราขายลูกสาวกิน (ทั้งๆที่เงินนั้นเราก็ไม่มีสิทธิ์ได้รับ และไม่ใช่เงินของเรา) […]

admin

October 13, 2021

ครอบครัว

เกร็ดน่ารู้จากแบบอย่างของท่านนบีในการใช้ชีวิตคู่

วันนี้ได้อ่านตำราหะดีษเล่มหนึ่งชื่อว่า อุมดะตุ้ลอะห์กาม(ตำราเล่มหนึ่งที่รวบรวมหะดีษที่เกี่ยวกับหลักปฏิบัติศาสนกิจ โดยคัดเอาเฉพาะหะดีษที่บันทึกโดยอิมามอัลบุคอรีย์และอิมามมุสลิมเท่านั้น)อ่านๆอยู่ก็ไปสะดุดตากับหะดีษสามบทเข้า ก็คือ عَنْ عَائِشَةَ ، قَالَتْ : كُنْتُ أَغْتَسِلُ أَنَا وَالنَّبِيُّ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ مِنْ إِنَاءٍ وَاحِدٍ كِلَانَا جُنُبٌ.وَكَانَ يَأْمُرُنِي فَأَتَّزِرُ فَيُبَاشِرُنِي وَأَنَا حَائِضٌ.وَكَانَ يُخْرِجُ رَأْسَهُ إِلَيَّ وَهُوَ مُعْتَكِفٌ فَأَغْسِلُهُ وَأَنَا حَائِضٌ. (ขออนุญาตสรุปแบบเอาแค่ใจความสำคัญ) ท่านนบีมุฮัมมัดและท่านหญิงอาอิชะฮฺอาบน้ำด้วยกันโดยที่ทั้งคู่ต่างก็อยู่ในสภาพที่มีญุนุบ(ต้องอาบน้ำยกหะดัษใหญ่เนื่องจากมีเพศสัมพันธ์หรือมีอสุจิเคลื่อนออกมาจากร่างกาย) และใช้ภาชนะอาบน้ำเดียวกัน และครั้งหนึ่งท่านนบีมุฮัมมัดได้หยอกล้อท่านหญิงอาอิชะฮฺในขณะที่นางมีประจำเดือนโดยที่ท่านนบีสั่งใช้ให้ท่านหญิงอาอิชะฮฺสวมผ้าถุงปกปิดเบื้องล่างด้วย และครั้งหนึ่งท่านนบีก็ได้ยื่นหัวออกมาให้ท่านหญิงอาอิชะฮฺสระผมในขณะที่ท่านนบีกำลังพักในมัสยิดเพื่อทำความดี(เอียะติกาฟ) และท่านหญิงอาอิชะฮฺกำลังมีประจำเดือน หะดีษทั้งสามนี้ บันทึกโดยท่านอิมามอัลบุคอรีย์ โดยเป็นหะดีษที่เน้นเรื่องฟิกฮฺในการทำความสะอาด สังเกตได้จากการที่นักวิชาการจำนวนมากต่างก็นำหะดีษบทนี้ไปเรียบเรียงอยู่ในหมวดวิชาฟิกฮฺที่ว่าด้วยการทำความสะอาดแต่จุดหนึ่งในหะดีษที่สำคัญมากๆที่อาจถูกหลายๆคนมองข้ามไปหากว่าไม่นำมาพิจารณาและใคร่ครวญ นั่นก็คือการดูแลเอาใจใส่กันของคู่สามีภรรยา จุดที่น่าสังเกตในประเด็นนี้ที่น่าสนใจและหลายๆคนอาจไม่ทันได้ฉุกคิด ก็คือการเอาใจใส่ครอบครัวของคู่สามีภรรยา ด้วยการให้ความรักความอบอุ่นรวมถึงความโรแมนติกในแบบที่ศาสนาอนุญาต แม้แต่เรื่องการอาบน้ำ หรือชำระล้างความสะอาดก็สามารถเป็นสิ่งเล็กๆที่ทำให้ชีวิตคู่อันเป็นเรื่องที่สำคัญดำเนินต่อไปได้ในระยะยาวได้ตลอดรอดฝั่งทำไมหรือครับ? ก็เพราะถ้าเราใส่ใจในรายละเอียดเราจะพบเลยว่า1.ในหะดีษระบุว่า ท่านนบีมุฮัมมัดและท่านหญิงอาอิชะฮฺอาบน้ำด้วยกัน ซึ่งเป็นการกระทำที่จะช่วยกระชับความรักความผูกพันตลอดจนความไว้วางใจซึ่งกันและกันของคู่ครองได้มากเลยทีเดียว 2. […]

admin

July 20, 2021

ครอบครัว

“จงเปลี่ยนธรณีประตูของเจ้าเถิด” เรื่องราวสะท้อนสังคม

นบีอิบรอฮีมแก่ท่านนบีอิสมาอีล “จงเปลี่ยนธรณีประตูของเจ้าเถิด” หลังจากที่ท่านนบีอิสมาอีลแต่งงานแล้ว ท่านนบีอิบรอฮีมก็ได้เดินทางมาเยี่ยมเยียนที่นครมักกะฮฺ แต่ทว่าในวันนั้นท่านนบีอิสมาอีลไม่อยู่บ้าน ท่านนบีอิบรอฮีมจึงถามภรรยาของนบีอิสมาอีล นางตอบว่าท่านนบีอิสมาอีลออกไปแสวงหาปัจจัยยังชีพให้แก่ครอบครัว ท่านนบีอิบรอฮีมจึงถามนางว่า ชีวิตครอบครัวของพวกเขาเป็นอย่างไร นางจึงตอบไปว่า ชีวิตครอบครัวของนางอยู่อย่างย่ำแย่ และลำบากยากแค้น ท่านนบีอิบรอฮีมจึงบอกกับนางไปว่า เมื่อท่านนบีอิสมาอีลกลับมาถึงบ้านแล้ว ให้บอกว่าฉันฝากสลามและสั่งให้เขาเปลี่ยนธรณีประตูของเขาเสียเถิด เมื่อท่านนบีอิสมาอีลกลับมาถึงบ้าน ท่านก็ถามภรรยาไปว่ามีใครมาที่บ้านหรือเปล่า นางตอบว่ามีชายชราคนหนึ่งมีลักษณะท่าทางอย่างนั้นอย่างนี้ และเขาก็ถามถึงชีวิตความเป็นอยู่ของครอบครัว นางจึงตอบว่า ครอบครัวของนางอยู่อย่างลำบากยากแค้น ท่านนบีอิสมาอีลจึงถามว่าเขาได้แนะนำสั่งใช้อะไรเพิ่มเติมอีกไหม นางตอบว่าเขาสั่งให้ท่านเปลี่ยนธรณีประตูของท่านด้วย ท่านนบีอิสมาอีลจึงบอกภรรยาว่า ชายชราคนนั้นคือ พ่อของฉันเอง และท่านสั่งใช้ให้ฉันแยกทางกับเธอ ท่านนบีอิสมาอีลจึงได้หย่ากับภรรยาของเขา แล้วแต่งงานกับภรรยาคนใหม่ จากนั้นเวลาก็ได้ผ่านไปจนกระทั่งท่านนบีอิบรอฮีมได้กลับมาเยี่ยมเยียนท่านนบีอิสมาอีลอีกครั้งหนึ่ง ก็พบว่าท่านนบีอิสมาอีลไม่อยู่ที่บ้าน ท่านนบีอิบรอฮีมจึงถามภรรยาของท่านนบีอิสมาอีล นางตอบว่า ท่านนบีอิสมาอีลออกไปแสวงหาปัจจัยยังชีพให้แก่ครอบครัว ท่านนบีอิบรอฮีมจึงถามนางถึงการใช้ชีวิตและสภาพความเป็นอยู่ของครอบครัวว่าเป็นอย่างไรบ้าง นางตอบว่าครอบครัวของนางอยู่อย่างสุขสบายไม่เดือดร้อนอะไรพร้อมกับสรรเสริญขอบคุณอัลลอฮฺ นบีอิบรอฮีมถามนางว่าที่บ้านกินและดื่มอะไร นางตอบว่า เนื้อสัตว์และน้ำ ท่านนบีอิบรอฮีมจึงได้ขอดุอาต่ออัลลอฮฺให้พระองค์ทรงประทานความจำเริญและความเพิ่มพูนในอาหารและเครื่องดื่มแก่ครอบครัวของท่านนบีอิสมาอีล จากนั้นท่านนบีอิบรอฮีมก็บอกนางว่า เมื่อท่านนบีอิสมาอีลกลับมาถึงบ้านให้บอกว่าฉันฝากสลามถึงเขา และบอกให้เขาจงรักษาธรณีประตูของเขาให้ดี เมื่อท่านนบีอิสมาอีลกลับมาถึงบ้าน ท่านก็ถามภรรยาว่ามีใครมีบ้านหรือไม่ นางตอบแบบชมเชยว่ามีชายชราที่ดีคนหนึ่งมาที่บ้านถามถึงท่าน และนางก็บอกไปว่าท่านไม่อยู่ แล้วชายชราก็ถามนางถึงการใช้ชีวิตและสภาพความเป็นอยู่ของครอบครัวว่าเป็นอย่างไร นางจึงตอบว่าครอบครัวของนางอยู่อย่างสุขสบาย ท่านนบีอิสมาอีลถามภรรยาว่าชายผู้นั้นได้สั่งเสียแนะนำอะไรอีกไหม นางตอบว่า เขาฝากสลามถึงท่านและสั่งให้ท่านจงรักษาธรณีประตูของท่านไว้ให้ดี ท่านนบีอิสมาอีลจึงบอกภรรยาว่า ชายชราผู้นั้นคือ พ่อของเขา(นบีอิบรอฮีม) […]

admin

July 18, 2021

ครอบครัว

เมียน้อย เมียหลวง มีหรือไม่ในอิสลาม?

การเรียกภรรยาคนแรกว่า เมียหลวง และภรรยาคนที่สองหรือคนหลังจากนั้นว่า เมียน้อย การเรียกดังกล่าวนี้ ถือเป็นการใช้คำพูดที่ขัดกับหลักคำสอนของศาสนาอิสลาม เนื่องจาก ความหมายของคำว่า เมียหลวง และเมียน้อย นั้นมีความหมายตามหลักภาษาที่ขัดกับหลักคำสอนของอิสลาม โดยพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ซึ่งเป็นฉบับมาตรฐานของภาษาไทย ได้ให้ความหมายของคำว่าเมียหลวงและเมียน้อยไว้ ดังนี้ เมียหลวง : น.(คำนาม) เมียที่ยกย่องว่าเป็นใหญ่. เมียน้อย : น. หญิงที่ชายเลี้ยงดูอย่างภรรยา แต่ไม่มีศักดิ์ศรีเท่าเมียหลวง หรือ ไม่ได้จดทะเบียน. อ้างอิงจากเว็บไซต์ ราชบัณฑิตยสถาน ว่าด้วยพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 http://www.royin.go.th/dictionary/index.php จากความหมายของเมียหลวงและเมียน้อยที่ทางพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 ได้ให้ไว้ เราจะเห็นว่า คำทั้งสองนี้ขัดกับหลักคำสอนของศาสนาอิสลามอย่างชัดเจน เพราะ อิสลามสั่งใช้ให้สามีนั้นดูแลและให้ความยุติธรรมแก่บรรดาภรรยาของเขาทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน ในทุกๆเรื่องที่เขาสามารถจะให้ความยุติธรรมได้ ดังนั้น ภรรยาทุกคนไม่ว่าจะคนแรก คนที่สอง หรือสามสี่ จึงล้วนแต่มีศักดิ์ศรีและเกียรติเท่าเทียมกัน โดยไม่สามารถแบ่งแยกหรือลำเอียงว่า ใครใหญ่สุด มีศักดิ์ศรีมากสุด หรือใครต่ำต้อยสุด ท่านร่อซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อลัยฮิ วะสัลลัมได้กล่าวว่า “ผู้ใดก็ตามที่มีภรรยาสองคน แล้วเขาลำเอียงให้แก่ภรรยาคนใดคนหนึ่งมากกว่าอีกคน […]

admin

April 30, 2021