ตัรบียะฮฺ ขัดเกลาจิตใจ

ความประเสริฐสิบวันแรกของเดือนซุลฮิจญะฮฺ

ความประเสริฐสิบวันแรกของเดือนซุลฮิจญะฮฺเเรียบเรียงโดย อาจารย์ดาวูด รอมาน ซุลฮิจญะฮฺเป็นเดือนลำดับที่ 12 ตามปฏิทินอิสลาม เดือนซุลฮิจญะฮฺเป็นเทศกาลแห่งการทำอิบาดะฮฺทั้งฟัรดูและซุนนะฮฺ โดยเฉพาะช่วงสิบวันแรกที่รวมอิบาดะห์หลักไว้ในช่วงเวลาดังกล่าว อันประกอบไปด้วยละหมาด การถือศีลอด การทำทานและการประกอบพิธีฮัจญ์ ณ บัยตุลลอฮฺ ดังนั้นศาสนาส่งเสริมให้ทำอิบาดะฮฺให้มาก ๆ ไม่ว่าจะเป็นการละหมาดซุนนะฮฺต่าง ๆ การถือศีลอด การบริจาคทาน หรือการกล่าวถ้อยคำระลึกถึงพระองค์อัลลอฮฺ และรวมถึงความประเสริฐของ วันอะรอฟะฮฺ วันนะหฺรุ วันตัชรีก 1. ความประเสริฐในช่วง 10 วันแรกของเดือนซุลฮิจญะฮฺ รายงานจากท่านอับดุลลอฮฺอิบนิอับบาสว่า ท่านร่อซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า ‎[مَا مِنْ أَيَّامٍ اْلعَمَلُ الصَّالِحُ فِيهِنَّ أَحَبُّ إِلَى اللهِ مِنْ هَذِهِ اْلأَيَّامِ اْلعَشْرِ ، فَقَالُوْا يَارَسُولَ اللهِ وَلاَ اْلجِهَادُ فِي سَبِيْلِ اللهِ ؟ […]

admin

June 26, 2023

ตัรบียะฮฺ ขัดเกลาจิตใจ

ไม่ได้ไปเที่ยวปีใหม่มีข้อดีอะไร จากมุมมองหนึ่งของผู้ศรัทธา

คนที่ไม่ได้ไปเที่ยวปีใหม่ มองในมุมๆหนึ่งก็ถือว่าเขาได้รับในสิ่งที่ดีมากๆและอัลลอฮฺทรงรักเขาผู้นั้นมากเพราะ 1. ป้องกันจากอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นมากในช่วงเทศกาลปีใหม่ ซึ่งลองคิดดูสิว่าคุัมค่าไหม2. ปลอดภัยจากการเลียนแบบยิวและคริสต์ในเรื่องพิธีกรรมความเชื่อการเฉลิมฉลองเทศกาลของพวกเขาเพราะนบีสั่งห้ามเลียนแบบในเรื่องประเภทนี้3. ปลอดภัยจากคนไม่ดีทั้งหลาย ทั้งพวกมิจฉาชีพ พวกติดยาเสพติด พวกชอบลวนลามทางเพศ เพราะคนพวกนี้มีมากในช่วงปีใหม่4. คนที่มีพ่อแม่พี่น้องที่อยู่ที่บ้าน เราใช้ช่วงเวลานี้อยู่บ้านกันพร้อมหน้าพร้อมตา ทำไรกินร่วมกันที่บ้าน ใช้เวลาแลกเปลี่ยนกันตักเตือนเรื่องศาสนากัน ผมว่ามันกระชับความสัมพันธ์และความอบอุ่นในบ้านได้ดีกว่าออกไปเที่ยวท่ามกลางผู้คนแออัดเสียอีก ปีใหม่ของอิสลาม(ซึ่งไม่มีบทบัญญัติให้เฉลิมฉลองอะไร) ถามว่าเรารู้จักกันกี่คน วันอีดปีละสองวันอิสลามให้เฉลิมฉลอง ก็ดันเอาไปทำอุตริกรรม(บิดอะฮฺ ) ด้วยการเยี่ยมกุโบร ทำใหัตัวเองอยู่ในบรรยากาศที่หดหู่ทั้งที่ต้องร่าเริงขออัลลอฮฺทรงชี้นำทางมุสลิมทั้งหลายด้วยเถิด# มุมมองหนึ่งในแบบผู้ศรัทธาต่ออัลลอฮฺ #เขียนโดย อ.ยะห์ยา หัสการบัญชาFacebook:Yahya Haskanbancha

admin

January 3, 2022

ตัรบียะฮฺ ขัดเกลาจิตใจ

“ใครจะทำผิดถ้าเขาไม่ทำให้เดือดร้อน ก็ปล่อยเขาไป”- คำพูดนี้ถูกต้องหรือไม่?

“ใครจะทำผิดก็เรื่องของเขาตราบใดที่เขาไม่ได้ทำให้เราเดือดร้อน ปล่อยๆเขาไป ให้เขารับผิดชอบตัวเอง”คำพูดเช่นนี้หรือใกล้เคียงกันนี้ไม่ใช่คำสอนของอิสลามเพราะ…อิสลามสอนว่า ผู้ศรัทธาที่แท้จริงจะต้องแนะนำสั่งใช้กันให้ทำความดี และยับยั้งห้ามปรามกันให้ออกห่างจากความชั่ว((وَالْمُؤْمِنُونَ وَالْمُؤْمِنَاتُ بَعْضُهُمْ أَوْلِيَاءُ بَعْضٍ ۚ يَأْمُرُونَ بِالْمَعْرُوفِ وَيَنْهَوْنَ عَنِ الْمُنكَرِ وَيُقِيمُونَ الصَّلَاةَ وَيُؤْتُونَ الزَّكَاةَ وَيُطِيعُونَ اللَّهَ وَرَسُولَهُ ۚ أُولَٰئِكَ سَيَرْحَمُهُمُ اللَّهُ ۗ إِنَّ اللَّهَ عَزِيزٌ حَكِيمٌ)) (التوبة/٧١).อิสลามสอนว่าให้ช่วยเหลือกันในสิ่งที่เป็นความดีงามและความยำเกรง และอย่าช่วยเหลือกันในเรื่องที่เป็นความผิดบาปและการเป็นศัตรูกัน((وَتَعَاوَنُوا عَلَى الْبِرِّ وَالتَّقْوَىٰ ۖ وَلَا تَعَاوَنُوا عَلَى الْإِثْمِ وَالْعُدْوَانِ ۚ وَاتَّقُوا اللَّهَ ۖ إِنَّ اللَّهَ شَدِيدُ الْعِقَابِ)) (المائدة/٢).อิสลามสอนว่าผู้ศรัทธาต่ออัลลอฮฺจงปกป้องตนเองและครอบครัวให้รอดพ้นจากไฟนรก((يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُوا قُوا […]

admin

October 13, 2021

ตัรบียะฮฺ ขัดเกลาจิตใจ

บุคคลสามประเภทที่ญิบรีลขอดุอาสาปแช่ง

บุคคลสามประเภทที่ญิบรีลขอดุอาสาปแช่ง และท่านร่อสูลุลลอฮฺ (ศ็อลลัลลอฮฺ อลัยฮิ วะสัลลัม)ก็เห็นด้วย รายงานจากท่านอบูฮุร็อยเราะฮฺ ได้กล่าวว่า “แท้จริงท่านร่อสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อลัยฮิ วะสัลลัมได้ขึ้นมิมบัร และกล่าวว่า อามีน(ขออัลลอฮฺทรงตอบรับด้วยเถิด) สามครั้ง (จากนั้น)ก็มีผู้ถามท่านว่า ท่านร่อสูลฯครับ ท่านขึ้นมิมบัรแล้ว (เหตุใด)ท่านจึงกล่าวว่า อามีน ถึงสามครั้ง ท่านร่อสูลฯตอบว่า แท้จริง ท่านญิบรีล (อลัยฮิสลาม) ได้มาหาฉัน แล้วกล่าว(ขอดุอาสาปแช่ง)ว่า ผู้ใดก็ตามที่ได้มีชีวิตอยู่ในเดือนรอมฎอน แต่ทว่าเขากลับไม่ได้รับการให้อภัยโทษ ดังนั้นเมื่อเขาตาย และเข้าสู่ขุมนรก ขอให้อัลลอฮฺทรงให้เขาอยู่อย่างห่างไกล(ในนั้น) ด้วยเถิด ท่าน(มุฮัมมัด)จงกล่าวตอบรับดุอานี้เถิด ท่านร่อสูลฯจึงกล่าวว่า อามีน(ขออัลลอฮฺทรงตอบรับดุอานี้ด้วยเถิด) และท่านญิบรีลกล่าวต่อไปว่า มุฮัมมัดเอ๋ย ผู้ใดก็ตามที่มีโอกาสได้อยู่ร่วมกับพ่อแม่ทั้งสองคน หรืออยู่ร่วมกับคนใดคนหนึ่งจากทั้งสองท่านนี้ แต่เขากลับไม่ทำดีต่อท่านทั้งสอง ดังนั้นเมื่อเขาตาย และเข้าสู่ขุมนรก ขอให้อัลลอฮฺทรงให้เขาอยู่อย่างห่างไกล(ในนั้น)ด้วยเถิด ท่าน(มุฮัมมัด)จงกล่าวตอบรับดุอานี้เถิด ท่านร่อสูลฯจึงกล่าวว่า อามีน(ขออัลลอฮฺทรงตอบรับดุอานี้ด้วยเถิด) และผู้ใดก็ตามที่ชื่อของท่าน(นบีมุฮัมมัด)ถูกเอ่ยขึ้นมา แต่เขากลับไม่ศ่อละวาต(ขอดุอา)ให้แก่ท่าน(นบีมุฮัมมัด) ดังนั้นเมื่อเขาตาย และเข้าสู่ขุมนรก ขอให้อัลลอฮฺทรงให้เขาอยู่อย่างห่างไกล(ในนั้น)ด้วยเถิด ท่าน(มุฮัมมัด)จงกล่าวตอบรับดุอานี้เถิด ท่านร่อสูลฯจึงกล่าวว่า อามีน(ขออัลลอฮฺทรงตอบรับดุอานี้ด้วยเถิด)” บันทึกโดยอิมามอิบนุฮิบบาน […]

admin

July 18, 2021

ตัรบียะฮฺ ขัดเกลาจิตใจ

พูดอะไรไว้ก็ต้องถูกทดสอบ

พูดอะไรไว้ก็ต้องถูกทดสอบ———————————-الم (1) أَحَسِبَ النَّاسُ أَنْ يُتْرَكُوا أَنْ يَقُولُوا آمَنَّا وَهُمْ لاَ يُفْتَنُونَ (2) وَلَقَدْ فَتَنَّا الَّذِينَ مِنْ قَبْلِهِمْ فَلَيَعْلَمَنَّ اللَّهُ الَّذِينَ صَدَقُوا وَلَيَعْلَمَنَّ الْكَاذِبِينَ (3)“อะลิฟ ลาม มีม มนุษย์คิดอย่างนั้นหรือว่าพวกเขาจะถูกปล่อยให้กล่าวเพียงว่าเราศรัทธาแล้วโดยที่ไม่ต้องถูกทดสอบ และแท้จริงเราได้ทดสอบบรรดาผู้ที่มาก่อนหน้าพวกเขา แน่นอนอัลลอฮ์รู้ดีว่าใครจริงและรู้ดีว่าใครเท็จ” (อัลอังกะบู๊ต อายะห์ 1-2-3) ในตัฟสีร อัฏวาอุลบะยานอธิบายว่าأَنَّ النَّاسَ لاَ يُتْرَكُونَ دُونَ فِتْنَةٍ، أَيِ: ابْتِلاَءٍ وَاخْتِبَارٍ، ِلأَجْلِ قَوْلِهِمْ: آمَنَّا، بَلْ إِذَا قَالُوا: آمَنَّا فُتِنُوا، أَيِ: امْتُحِنُوا وَاخْتُبِرُوا بِأَنْوَاعِ […]

admin

July 18, 2021