บทความ

ความเข้าใจเกี่ยวกับผู้นำในอิสลาม

อัลอิมามะหฺ (ความเข้าใจเกี่ยวกับผู้นำในอิสลาม)เรียบเรียงโดย อ.อิสหาก พงษ์มณี ชัยคุ้ลอิสลาม อิบนุตัยมียะห์ ให้ความหมายไว้ว่า قال ابنُ تَيمِيَّةَ: (الإمامُ هو الَّذي يُؤتَمُّ به، وذلك على وَجهَينِ: أحَدُهما: أن يَرجِعَ إليه في العِلمِ والدِّينِ بحَيثُ يُطاعُ باختيارِ المُطيعِ؛ لكَونِه عالِمًا بأمرِ اللهِ عَزَّ وجَلَّ آمِرًا به، فيُطيعُه المُطيعُ لذلك، وإن كان عاجِزًا عن إلزامِه الطَّاعةَ. والثَّاني: أن يَكونَ صاحِبَ يَدٍ وسَيفٍ، بحَيثُ يُطاعُ طَوعًا […]

admin

July 6, 2023

ตัรบียะฮฺ ขัดเกลาจิตใจ

ความประเสริฐสิบวันแรกของเดือนซุลฮิจญะฮฺ

ความประเสริฐสิบวันแรกของเดือนซุลฮิจญะฮฺเเรียบเรียงโดย อาจารย์ดาวูด รอมาน ซุลฮิจญะฮฺเป็นเดือนลำดับที่ 12 ตามปฏิทินอิสลาม เดือนซุลฮิจญะฮฺเป็นเทศกาลแห่งการทำอิบาดะฮฺทั้งฟัรดูและซุนนะฮฺ โดยเฉพาะช่วงสิบวันแรกที่รวมอิบาดะห์หลักไว้ในช่วงเวลาดังกล่าว อันประกอบไปด้วยละหมาด การถือศีลอด การทำทานและการประกอบพิธีฮัจญ์ ณ บัยตุลลอฮฺ ดังนั้นศาสนาส่งเสริมให้ทำอิบาดะฮฺให้มาก ๆ ไม่ว่าจะเป็นการละหมาดซุนนะฮฺต่าง ๆ การถือศีลอด การบริจาคทาน หรือการกล่าวถ้อยคำระลึกถึงพระองค์อัลลอฮฺ และรวมถึงความประเสริฐของ วันอะรอฟะฮฺ วันนะหฺรุ วันตัชรีก 1. ความประเสริฐในช่วง 10 วันแรกของเดือนซุลฮิจญะฮฺ รายงานจากท่านอับดุลลอฮฺอิบนิอับบาสว่า ท่านร่อซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า ‎[مَا مِنْ أَيَّامٍ اْلعَمَلُ الصَّالِحُ فِيهِنَّ أَحَبُّ إِلَى اللهِ مِنْ هَذِهِ اْلأَيَّامِ اْلعَشْرِ ، فَقَالُوْا يَارَسُولَ اللهِ وَلاَ اْلجِهَادُ فِي سَبِيْلِ اللهِ ؟ […]

admin

June 26, 2023

บทความ

ฟัตวา เงื่อนไขของการรับข่าวเห็นเดือนเสี้ยว

สำหรับประเทศซาอุดิอาราเบียเราพบว่าเขาได้ระบุเงื่อนไขในการรับข่าวการเห็นเดือนเสี้ยวไว้ชัดเจนดังนี้ ( نظراً لما يترتب على معرفة أول يوم من شهر شعبان من أهمية بالنسبة لشهر رمضان المبارك فإن وزارة العدل تقوم في شهر رجب من كل عام بالتعميم على المحاكم بأن على القضاة أن يؤكدوا على الناس تحرّي رؤية هلال شهر شعبان، وفي أواخر شهر شعبان تجتمع الهيئة القضائية العليا بوزارة العدل للاطلاع على […]

admin

May 16, 2022

ตับลีฆ

ที่มาของกลุ่มตับลีฆและข้อผิดพลาดจากหนังสือของกลุ่ม

แรงกระเพื่อมจากญะมาอะห์ตับลีฆและคนเกาะกระแสด่า ตามที่มีกระแสว่าทางการซาอุฯ (กระทรวงกิจการศาสนา) มีหนังสือเวียนให้คอเต็บแต่ละมัสยิดทั่วราชอาณาจักรคุตบะห์เตือนถึงอันตรายของความเชื่อแบบกลุ่มญะมาอะห์ตับลีฆ ปรากฏว่าในบ้านเรามีแรงกระเพื่อมจากคนหลายกลุ่มวิพากษ์วิจารณ์เนื้อหาของคุตบะห์ของบางมัสยิดในซาอุฯ ประเด็นที่ดูเหมือนจะจับมาเล่นกันคือ มีคอเต็บบางท่านกล่าวว่าญะมาอะห์นี้เรียกร้องไปสู่การกราบไหว้กุโบร์ ซึ่งคนที่วิจารณ์เขาบอกว่าประเด็นนี้มั่วมาก และบางคนลามเลยไปจาบจ้วงคนซาอุฯ ทั้งหมดว่า “ใส่แว่นดำ” สาเหตุที่มีการวิพากษ์วิจารณ์คือ คนที่ออกกับญะมาอะห์เขายืนยันว่าไม่ปรากฏว่ามีการเชิญชวนให้ไปกราบไหว้กุโบร์ที่ไหน บางคนก็บอกว่ามีเพื่อนเป็นคนในญะมาอะห์ ถามดูก็ได้รับคำยืนยันว่าไม่มี เลยตัดสินใจกล่าวหาผู้รู้ซาอุฯ พวกใส่ “แว่นดำ” (คือมองผู้อื่นผิดไปหมด) ความขุ่นเคืองใจหรือความไม่พอใจเหล่านี้พุ่งตรงไปที่คำว่า “เรียกร้องให้ไปกราบไหว้กุโบร์” จริงๆ แล้วผมเองก็ยังมิได้ยินกับหูครับว่ามีผู้รู้ท่านไหนพูดเฉพาะเจาะจงแบบนั้น แต่ที่ได้เห็นก็คือโพสต์ของคนที่ออกมาวิพากษ์วิจารณ์นั่นเอง เรื่องของญะมาอะห์ตับลีฆ มีงานเขียนค่อนข้างมากอยู่ และเคยมีวิทยานิพนธ์ของนักศึกษาชาวปากิสถานถ้าจำไม่ผิดน่าจะชื่อว่า บัยยาน มุฮัมหมัด อัสลัม ซึ่งนำเสนอแก่มหาวิทยาลัยอิสลามียะห์แห่งมะดีนะห์มุเนาวะเราะห์ เมื่อหลายปีมาแล้ว โดยใช้ชื่อหนังสือว่า عقيدة جماعة التبليغ وافكارمشايخها นอกเหนือจากนี้ยังมีตำราอีกมากมายเกี่ยวกับที่ไปที่มาของญะมาอะห์นี้ ซึ่งคงจะเอามาแนะนำกันภายหลังเพราะเกรงจะยืดยาว ตำราเกือบทุกเล่มล้วนชี้ไปที่พื้นฐานอะกีดะห์และแนวทางของผู้ก่อตั้งรวมถึงบรรดาผุ้สืบสานแนวทางดังกล่าวว่ายึดแนวศูฟีเป็นหลัก มีการให้และรับสัตยาบัน(มุบายะอะห์) ลักษณะศูฟียะห์โดยเฉพาะอย่างยิ่งสาย “ญัชตียะห์” ศูฟีเกือบทุกสายนิยมให้ความสำคัญกับกุโบร์ของโต๊ะวะลีกะรอมัต และมักจะนำศพคนระดับดังกล่าวไปฝังไว้ในมัสยิดเพื่อไว้เยี่ยมเยือนและตะวัสซุ้ล ดังนั้นจึงไม่แปลกหากคุตบะห์ของบรรดาอิหม่ามในซาอุฯ จะจับประเด็นนี้ขึ้นมาพูด และนั่นเป็นการพูดถึงระดับแกนนำผู้ก้อตั้งญะมาอะห์ ไม่ใช่พูดถึงระดับปลายแถวทั่วไป เพราะในระดับปลายแถวโดยทั่วไปก็ไม่มีการให้สัตยาบันใดๆ เช่นกัน ดังนั้นการสอบถามเอาแต่เฉพาะคนปลายแถว อาจจะไม่ใช่คำตอบสุดท้ายถ้ายังมิได้ลงลึกศึกษาอย่างแท้จริงต่อที่ไปที่มาของญะมาอะห์ดังกล่าว เมื่อยังไม่ทราบแน่ชัดก็ไม่ควรรีบร้อนไปกล่าวหา “ผู้รู้ซาอูฯ […]

admin

February 27, 2022

QA-ถามตอบ

หนังสือศาสดาพยากรณ์ อ่านได้หรือไม่? [ฟัตวาลัจนะฮฺฯ]

หนังสือของนาย “อาลี อักบัร” ****************************** เว็ปต์ไซต์ของก๊อดยานีสำนักละโฮร ภูมิใจนำเสนอผลงานชิ้นโบว์แดงของนักเขียนเขา โดยให้ดาวน์โหลดฟรีในรูปพีดีเอฟไฟล์ (PDF) ก่อนที่จะกล่าวหากันว่าใส่ร้าย เบิ่งตาดูภาพด้านล่างนี้เสียก่อนครับ ตำราเล่มนี้เข้าใจว่ามีคนเอามาแปลเป็นไทยและยังเผยแพร่อยู่ในขณะนี้ การแปลนั้นอาจจะนานมาแล้ว แต่หนังสือนี้ได้รับความนิยมในหมู่นักอ่าน นักวิชาการ นักศึกษา และบางคนก็เข้าเลือดเข้าเนื้อไปแล้ว หนังสือชื่อว่า ” Prophecies of the Holy Quran” และเข้าใจว่าคือหนังเล่มเดียวกันกับ “ศาสนดาพยากรณ์” เมื่อแปลเป็นไทยแล้ว ในเล่มมีการกล่าวถึง Prophecies in Relation to the Appearance of Al-Masih Al-Dajjal (The Anti-Christ) and Yajuj (Gog) and Majuj (Magog) มะเสี๊ยฮุลดัจญาล ยะอ์ญูดมะอ์ญูด คือกล่าวถึงตามแบฉบับของก๊อดยานีนะครับ ไม่ใช่แบบที่เรารู้และเข้าใจกัน ใครมีไว้บ้างครับระวังลูกหลานจะดื่มด่ำรสพระธรรมคำสอนของก๊อดยานนะครับ หากใครมีก็รีบๆ นำออกไปเผาหรือฝังดินเสีย ป้องกันการแพร่เชื้อความคิดความเชื่อแบบก๊อดยานีนะครับ คำถาม : ในประเทศไทยเมื่อปีที่แล้ว […]

admin

February 21, 2022

ตัรบียะฮฺ ขัดเกลาจิตใจ

ไม่ได้ไปเที่ยวปีใหม่มีข้อดีอะไร จากมุมมองหนึ่งของผู้ศรัทธา

คนที่ไม่ได้ไปเที่ยวปีใหม่ มองในมุมๆหนึ่งก็ถือว่าเขาได้รับในสิ่งที่ดีมากๆและอัลลอฮฺทรงรักเขาผู้นั้นมากเพราะ 1. ป้องกันจากอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นมากในช่วงเทศกาลปีใหม่ ซึ่งลองคิดดูสิว่าคุัมค่าไหม2. ปลอดภัยจากการเลียนแบบยิวและคริสต์ในเรื่องพิธีกรรมความเชื่อการเฉลิมฉลองเทศกาลของพวกเขาเพราะนบีสั่งห้ามเลียนแบบในเรื่องประเภทนี้3. ปลอดภัยจากคนไม่ดีทั้งหลาย ทั้งพวกมิจฉาชีพ พวกติดยาเสพติด พวกชอบลวนลามทางเพศ เพราะคนพวกนี้มีมากในช่วงปีใหม่4. คนที่มีพ่อแม่พี่น้องที่อยู่ที่บ้าน เราใช้ช่วงเวลานี้อยู่บ้านกันพร้อมหน้าพร้อมตา ทำไรกินร่วมกันที่บ้าน ใช้เวลาแลกเปลี่ยนกันตักเตือนเรื่องศาสนากัน ผมว่ามันกระชับความสัมพันธ์และความอบอุ่นในบ้านได้ดีกว่าออกไปเที่ยวท่ามกลางผู้คนแออัดเสียอีก ปีใหม่ของอิสลาม(ซึ่งไม่มีบทบัญญัติให้เฉลิมฉลองอะไร) ถามว่าเรารู้จักกันกี่คน วันอีดปีละสองวันอิสลามให้เฉลิมฉลอง ก็ดันเอาไปทำอุตริกรรม(บิดอะฮฺ ) ด้วยการเยี่ยมกุโบร ทำใหัตัวเองอยู่ในบรรยากาศที่หดหู่ทั้งที่ต้องร่าเริงขออัลลอฮฺทรงชี้นำทางมุสลิมทั้งหลายด้วยเถิด# มุมมองหนึ่งในแบบผู้ศรัทธาต่ออัลลอฮฺ #เขียนโดย อ.ยะห์ยา หัสการบัญชาFacebook:Yahya Haskanbancha

admin

January 3, 2022

บทความ

ความรู้จะถูกถอดถอนออกไปจากประชาชาตินี้ในยุคสุดท้ายได้อย่างไร?

ความรู้ถูกถอดถอนออกไปจากประชาชาตินี้ในยุคสุดท้ายได้อย่างไร? ในยุคสุดท้ายคือช่วงเวลาที่ใกล้จะถึงวันกิยามะฮฺ วันแห่งการพิพากษา อัลลอฮฺจะทรงถอดถอนความรู้ออกจากบ่าวของพระองค์ ดังที่อัลหะดีษที่ถูกต้องหลายๆบทได้บอกเอาไว้ และมันคือหนึ่งในสัญญาณของวันกิยามะฮฺ ดังที่ท่านนบีมุฮัมมัด ศ็อลลัลลอฮฺ อลัยฮิ วะสัลลัมได้กล่าวไว้ในหะดีษเศาะเหี๊ยะหฺบทหนึ่งว่า”แท้จริงอัลลอฮฺจะมิทรงถอดถอนความรู้(ศาสนา)ออกจากตัวบ่าวของพระองค์ แต่ทว่าพระองค์จะทรงถอดถอดความรู้(ศาสนา)ออกจากประชาชาตินี้ด้วยการปลิดชีวิตบรรดาผู้รู้ จนกระทั่งเมื่อไม่มีผู้รู้หลงเหลืออยู่บนโลกนี้แม้แต่ผู้เดียวอีกแล้ว ผู้คนก็จะพากันแต่งตั้งพวกผู้นำที่โง่เขลาขึ้นมา และเมื่อพวกเขาถูกถาม(ปัญหาศาสนา)พวกเขาก็จะตอบปัญหาโดยไม่มีความรู้ ซึ่งทำให้พวกเขาหลงผิด และทำให้ผู้อื่นหลงผิดไปด้วย” บันทึกโดยอิมามบุคอรีย์และมุสลิม และการถอดถอนความรู้ศาสนาออกจากประชาชาตินี้แบ่งออกเป็น สามระยะด้วยกันดังนี้ ระยะที่หนึ่งความเกรงกลัวอัลลอฮฺจะถูกถอดออกจากหัวใจของบรรดาผู้รู้ส่วนมาก แต่ความรู้ศาสนายังคงอยู่กับพวกเขาโดยจะยังถูกถ่ายทอดและเผยแผ่ออกไปไม่ว่าจะเป็นการบรรยาย, การสอนในวงวิชาการ,ในห้องเรียน ฯลฯ สรุปคือ ความรู้ศาสนายังคงมีอยู่แต่ความเกรงกลัวอัลลอฮฺจะหายไปจากหัวใจของผู้รู้ส่วนมาก เว้นแต่ผู้รู้ส่วนน้อยที่ยังคงมีความเกรงกลัวอัลลอฮฺอยู่ในหัวใจอย่างแท้จริง ซึ่งบรรดาผู้รู้เหล่านี้คือส่วนหนึ่งจากกลุ่มชนผู้ได้รับความช่วยเหลือ(อัฏฏออิฟะฮฺ อัลมันศูเราะฮฺ)ในยุคใกล้วันกิยามะฮฺ (ขอให้เราทั้งหลายได้เป็นส่วนหนึ่งจากพวกเขาด้วยเถิด) ระยะที่สองความรู้ศาสนาจะถูกถอดถอนออกจากประชาชาตินี้ด้วยการเสียชีวิตของบรรดาผู้รู้ในระยะนี้ความรู้ศาสนาก็จะถูกอัลลอฮฺเรียกกลับคืนสู่พระองค์ด้วยการปลิดชีวิตบรรดาผู้รู้ในประชาชาตินี้ ดังนั้นบรรดาผู้รู้ที่แท้จริงจะหลงเหลืออยู่น้อยจนกระทั่งไม่หลงเหลืออีกเลย ส่วนนักอ่านตำราศาสนาและผู้ที่มีตำราศาสนาตุนเก็บไว้ที่บ้านและที่ทำงานของพวกเขาจะมีมากมาย แต่ทว่าหลังจากอ่านตำราแล้วพวกเขาเหล่านี้กลับมีความเข้าใจศาสนาที่ถูกต้องแท้จริงเพียงน้อยนิดเท่านั้น เพราะการมีความรู้ความเข้าใจศาสนาอย่างแท้จริงนั้นจะได้มาโดยวิธีการศึกษาร่ำเรียนและรับการถ่ายทอดจากบรรดาผู้รู้ที่แตกฉานอย่างแท้จริง ซึ่งในยุคใกล้วันกิยามะฮฺผู้รู้ที่แท้จริงนั้นจะหาได้ยากจนแทบจะไม่หลงเหลืออยู่อีกเลย ส่วนบรรดานักอ่านตำราศาสนาจะมีมากมายดาษดื่น ดังนั้นบรรดานักอ่านเหล่านั้นก็จะตอบปัญหาศาสนาให้แก่ผู้คน โดยที่พวกเขาคิดว่าตนเองนั้นคือผู้รู้เพียงเพราะการอ่านตำราแต่ทว่าไม่ได้รับความรู้และร่ำเรียนมาจากผู้รู้ที่แตกฉานอย่างแท้จริง เป็นเหตุให้พวกเขามีความผิดพลาดในการตอบปัญหาศาสนา ดังที่ท่านนบีได้กล่าวว่า “และผู้คนก็จะแต่งตั้งผู้นำที่โง่เขลาขึ้นมาและเมื่อพวกเขาถูกถามปัญหาศาสนา พวกเขาก็จะตอบปัญหาโดยไม่มีความรู้ ซึ่งทำให้พวกเขาหลงผิด และทำให้ผู้อื่นหลงผิดตามไปด้วย” ระยะที่สาม(ระยะสุดท้าย) อัลกุรอานจะถูกถอดถอนออกจากบ่าวของพระองค์ในประชาชาตินี้ โดยอัลลอฮฺจะทรงปลิดชีพบรรดามุสลิมและโลกใบนี้จะไร้ซึ่งมุศหัฟ(คัมภีร์อัลกุรอาน) ดังนั้นอัลกุรอานจะไม่หลงเหลืออยู่บนโลกนี้อีกต่อไป วัลลอฮฺ อะอฺลัม สรุปจากตำรามุฮาเฎาะรอต ฟิล อะกีดะฮฺ วัดดะอฺวะฮฺ ของ […]

admin

November 14, 2021

บทความ

มารยาทในการให้สล่ามเมื่อเข้ามาในที่มีการเรียนการสอนหรือที่ประชุม

มารยาทในการให้สล่ามเมื่อเข้ามาในที่มีการเรียนการสอนหรือที่ประชุม คำถาม. / เมื่อมีคนๆหนึ่งเข้ามาในสถานที่ประชุม ซึ่งสถานที่นั้นมีทั้งอุละมาอฺ บรรดานักศึกษา และบุคคลทั่วไป ซึ่งพวกเขาต่างก็กำลังพูดคุยสนทนากันอยู่ เขาควรจะให้สลามและนั่งลงหรือเขาควรจะให้สลามแก่ทุกคน…? ขอให้ท่านช่วยชี้ขาดในประเด็นนี้ให้ทราบพอสังเขป. คำตอบ. / เชคเฟาซาน. บิสมิ้ลลาฮฺฮิรเราะมานนิรเราะฮีม อัลฮัมดุลิ้ลลาฮิร็อบบิ้ลอาละมีน ….ฯ ไม่มีข้อสงสัยใดๆเลยที่ว่า สถานที่ชุมนุมต่างๆนั้นต้องมีมารยาทที่ควรปฏิบัติ ดังนั้นถ้ามีคนเข้ามาในที่ที่มีการชุมนุม ซึ่งการชุมนุมดังกล่าวนั้นเป็นการรวมตัวกันเพื่อแสวงหาความรู้ และมีการเรียนการสอน ก็สมควรให้เขานั่งลงและฟัง และให้ทำการสลามหลังจากที่มีการว่างเว้นจากการเรียนการสอน เช่นเดียวกัน หากว่ามีการนั่งกันอยู่ซึ่งเป็นการนั่งประชุมคุยกัน และมีคนหนึ่งกำลังพูดอยู่และส่วนที่เหลือกำลังฟังอยู่ เวลานั้นให้เขานั่ง(ฟัง)ด้วยเช่นกันและอย่าเพิ่งให้สล่ามจนกว่าผู้พูดจะหยุดพูดเสียก่อน ส่วนในกรณีของการพูดคุยที่เป็นการพูดคุยกันเองระหว่างผู้ที่มาชุมนุมในสถานที่ดังกล่าวนั้น ก็ให้เขาให้สล่ามโดยรวมๆ หลังจากนั้นสามารถเลือกให้สล่ามเฉพาะคน ซึ่งเป็นใครก็ได้ที่เขาต้องการจะให้สล่ามแก่บางคน แปลโดย อ.มุบาร็อก แดงโกเมน อ้างอิง:https://salaficentre.com/…/manners-giving-salaams…/ http://www.alfawzan.af.org.sa/…/files/14330102_01.mp3

admin

November 14, 2021

บทความ

อิบนุตัยมียะห์บอกเมาลิดทำได้จริงหรือ ?

อิบนุตัยมียะห์บอกเมาลิดทำได้จริงหรือ ? กรณีที่มีบางคนนำเสนอว่า ท่านชัยคุลอิสลาม อิบนุ ตัยมียะห์ ร่อฮิมะฮุลลอฮ์ ได้กล่าวไว้ว่า فتعظيم المولد، واتخاذه موسمًا، قد يفعله بعض الناس، ويكون له فيه أجر عظيم لحسن قصده، وتعظيمه لرسول الله صلى الله عليه وسلم، كما قدمته لك أنه يحسن من بعض الناس، ما يستقبح من المؤمن المسدد اقتضاء صراط المستقيم(2/ 125) “การให้ความสำคัญกับเมาลิดและยึดเป็นเทศกาลนั้น ก็อาจมีบางคนทำเช่นนั้นจริงๆ โดยที่เขา (อาจ) ได้รับรางวัลตอบแทนยิ่งใหญ่ด้วยเหตุแห่งเจตนาอันดีของเขา และด้วยการที่เขาให้เกียรติต่อท่านร่อซูลุลลอฮ์ ศ้อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม เหมือนอย่างที่ได้นำเสนอไปแล้วว่าบางสิ่งบางอย่างที่คน(ทั่วไป)เห็นว่ามันดี […]

admin

October 17, 2021

ตัรบียะฮฺ ขัดเกลาจิตใจ

“ใครจะทำผิดถ้าเขาไม่ทำให้เดือดร้อน ก็ปล่อยเขาไป”- คำพูดนี้ถูกต้องหรือไม่?

“ใครจะทำผิดก็เรื่องของเขาตราบใดที่เขาไม่ได้ทำให้เราเดือดร้อน ปล่อยๆเขาไป ให้เขารับผิดชอบตัวเอง”คำพูดเช่นนี้หรือใกล้เคียงกันนี้ไม่ใช่คำสอนของอิสลามเพราะ…อิสลามสอนว่า ผู้ศรัทธาที่แท้จริงจะต้องแนะนำสั่งใช้กันให้ทำความดี และยับยั้งห้ามปรามกันให้ออกห่างจากความชั่ว((وَالْمُؤْمِنُونَ وَالْمُؤْمِنَاتُ بَعْضُهُمْ أَوْلِيَاءُ بَعْضٍ ۚ يَأْمُرُونَ بِالْمَعْرُوفِ وَيَنْهَوْنَ عَنِ الْمُنكَرِ وَيُقِيمُونَ الصَّلَاةَ وَيُؤْتُونَ الزَّكَاةَ وَيُطِيعُونَ اللَّهَ وَرَسُولَهُ ۚ أُولَٰئِكَ سَيَرْحَمُهُمُ اللَّهُ ۗ إِنَّ اللَّهَ عَزِيزٌ حَكِيمٌ)) (التوبة/٧١).อิสลามสอนว่าให้ช่วยเหลือกันในสิ่งที่เป็นความดีงามและความยำเกรง และอย่าช่วยเหลือกันในเรื่องที่เป็นความผิดบาปและการเป็นศัตรูกัน((وَتَعَاوَنُوا عَلَى الْبِرِّ وَالتَّقْوَىٰ ۖ وَلَا تَعَاوَنُوا عَلَى الْإِثْمِ وَالْعُدْوَانِ ۚ وَاتَّقُوا اللَّهَ ۖ إِنَّ اللَّهَ شَدِيدُ الْعِقَابِ)) (المائدة/٢).อิสลามสอนว่าผู้ศรัทธาต่ออัลลอฮฺจงปกป้องตนเองและครอบครัวให้รอดพ้นจากไฟนรก((يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُوا قُوا […]

admin

October 13, 2021
1 2 6