ครอบครัว

ทำความเข้าใจให้ถูกต้องเรืองมะฮัร แก้ปัญหาสังคม

ทำความเข้าใจให้ถูกต้องเรืองมะฮัร แก้ปัญหาสังคม_________________________เขียนโดย อ.ยะห์ยา หัสการบัญชา สังคมมุสลิมเรายังเข้าใจผิดๆเกี่ยวกับเรื่องการแต่งงานหลายประเด็น หนึ่งในเรื่องที่สำคัญก็คือ เรื่องมะฮัร (สินสมรส) ที่เข้าใจกันผิดๆว่า “เป็นเงินที่ผู้ใหญ่ฝ่ายหญิงมีสิทธิ์เรียกร้องให้เจ้าสาวตามที่พวกเขาพอใจ” บ้างก็เข้าใจว่า ” เป็นเงินที่ผู้ใหญ่ฝ่ายหญิงมีสิทธิ์ต้องได้รับส่วนแบ่งจากเจ้าสาวโดยไม่ต้องขออนุญาตจากเจ้าสาว “ บ้างก็เข้าใจว่า “เป็นเงินที่ผู้ใหญ่ฝั่งเจ้าสาว มีสิทธิ์กำหนดให้สูงหรือต่ำ ตามแต่วุฒิการศึกษาของเจ้าสาวที่สำเร็จการศึกษามา” บ้างก็เข้าใจว่า “เป็นเงินที่เจ้าบ่าวนำมาให้เจ้าสาว โดยผู้ใหญ่ฝั่งเจ้าสาวกำหนดมาว่าเป็นจำนวนเท่าใด เพื่อแสดงถึงหลักค้ำประกันทางฐานะว่า เจ้าบ่าวจะสามารถดูแลเจ้าสาวได้อย่างมั่นคง” …และอื่นๆอีกมากมายที่ไม่ได้นำมาบอกกล่าวกันในนี้… แต่ว่า…จะมีสักกี่คนเข้าใจว่า มะฮัร(สินสมรส)นั้นคือ “เงินหรือทรัพย์สิน หรือ สิ่งที่ดีมีประโยชน์ใดๆก็ตามที่เจ้าบ่าวใช้เป็นของขวัญ หรือ ใช้เป็นสื่อในการขออนุมัติให้การนิกาห์นั้นใช้ได้ถูกต้องตามหลักศาสนาอิสลาม โดยผู้ที่มีสิทธิ์ในการเรียกร้องว่าต้องการเท่าไหร่ คือ ตัวเจ้าสาวเอง และผู้ที่มีสิทธิ์ได้รับมะฮัรก็คือ ตัวเจ้าสาวเอง ส่วนผู้อื่นนอกจากเจ้าสาวนั้น ไม่มีสิทธิ์ใดๆในการได้รับส่วนแบ่งจากเงินมะฮัรนั้น นอกจากจะเป็นการยินยอมด้วยความพอใจจากเจ้าสาวที่จะมอบให้ใครหลังจากนั้น ตามความพอใจของนางเองเท่านั้น และผู้อื่นก็ไม่มีสิทธิ์ที่จะเรียกร้อง หรือบังคับกำหนดให้เจ้าสาวว่าต้องเรียกเอาเท่านั้นเท่านี้ หรือ เข้ามามีเอี่ยวในเงินมะฮัรด้วย สิ่งนี้ย่อมไม่ถูกต้องและขัดกับบทบัญญัติศาสนาอิสลามอย่างชัดเจน แต่สังคมมุสลิมเรากลับมีความเข้าใจที่ถูกต้องน้อยมากเกี่ยวกับเรื่องนี้ ท่านนบีกล่าวไว้ในหะดีษที่ถูกต้องบทหนึ่งซึ่งมีใจความว่า “สตรีที่ดีนั้นคือ หญิงที่แต่งงานโดยใช้มะฮัรไม่มาก และ สามารถไปมาหาสู่กันได้อย่างสะดวกง่ายดายระหว่างสองครอบครัว(ฝั่งชายและหญิง)” …ตกลงว่าเรากำลังสวนทางกับคำสอนของศาสนาใช่หรือไม่??? ตกลงว่าเราขายลูกสาวกิน (ทั้งๆที่เงินนั้นเราก็ไม่มีสิทธิ์ได้รับ และไม่ใช่เงินของเรา) […]

admin

October 13, 2021

บทความ

ด้วยรักและห่วงใยถึงสตรีผู้ศรัทธาทั้งหลาย

ด้วยรักและห่วงใยถึงสตรีผู้ศรัทธาทั้งหลาย โดย อ.อิสหาก พงษ์มณี คำสอนที่หนึ่ง เรา ไม่ว่าชายหรือหญิงที่ศรัทธาต่ออัลลอฮ์ ต่อคำสั่งสอนของพระองค์ และพร้อมปฏิบัติตามคำสั่งสอนนั้น ต่างก็ได้ชื่อว่าผู้ศรัทธาทั้งสิ้น ผลตอบแทนของผู้ศรัทธาคือสวรรค์อันสถาพรที่ถูกเตรียมไว้ให้ โลกนี้เราอยู่กันไม่นาน สุขก็ไม่นาน ทุกข์ก็ไม่นาน โดยทั่วไปนานสุดก็ไม่เกินร้อยปี ในที่สุดเราต้องถูกนำกลับไปสู่โลกหน้าที่ยาวนานตลอดกาลตลอดไป หากเป็นสุขก็ยาวนานตลอดไป และถ้าเป็นทุกข์ก็ยาวนานยิ่ง ยุคนี้สมัยนี้ เราซึมซับเอาคำสอนที่ค้านที่ต้านหลักการของศาสนามาเชื่อมาถือ นั่นก็คือสิทธิ์เท่าเทียมกันระหว่างบุรุษและสตรี มุสลิมะห์หลายคนไม่เคยรู้ด้วยซ้ำไปว่าศาสนาสอนอะไรนางบ้าง เกี่ยวกับเรื่องนี้ แต่นางรู้ว่าโลกเขากำลังเรียกร้องสิทธิ์สตรีให้ทัดเทียมกับบุรุษเพศ นางจึงรณรงค์เพื่อการนั้นด้วยดี นางมีความคิดลึกๆ อยู่ในใจว่าหากได้แต่งงานก็จะไม่ยอมเสีบเปรียบสามี และทุกอย่างต้องทัดเทียมกัน หาไม่นางจะต่อสู้กับเขาแม้จะต้องเลิกรากันก็ยอม นางจะรู้บ้างไหมว่า สวรรค์และนรกของนางก็คือสามีของนาง หากนางใดไม่รู้ก็โปรดได้สดับรับฟังคำสอนนี้ แล้วนางจะเปลี่ยนใจหรือไม่ก็เป็นสิทธิ์ของนาง ท่านอิหม่ามนซาอีบันทึกไว้ใน(ซุนัน) อับกุบรอ หมายเลขลำดับที่ (8913) จากรายงานของอับดุลลอฮ์ อิบนุ เมี๊ยห์ซอน จากป้าของท่านว่า นางได้เข้าพบท่านร่อซูลุลลอฮ์ ศ้อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ท่านได้ลุกไปทำธุระส่วนตัว เมื่อแล้วเสร็จ (ท่านกลับมาหานาง) พลางกล่าวถามขึ้นว่า “เธอมีสามีแล้วหรือยัง” นางตอบว่า “มีแล้ว” ท่านถามต่อไปว่า “แล้วปฏิบัติต่อเขาอย่างไร” นางตอบว่า “ก็ปฏิบัต (รับใช้) […]

admin

October 13, 2021

บทความ

การปกปิดความผิดหรือตำหนิของผู้อื่น

การปกปิดความผิดหรือตำหนิของผู้อื่น เขียนโดย อ.ยะห์ยา หัสการบัญชา อยากให้อ่านให้เข้าใจแล้วพิจารณาเอาเองว่าในสังคมมุสลิมบ้านเราเป็นยังไง เพราะเห็นบางคนชอบออกตัวมาปกป้องคนที่ตัวเองชื่นชอบแบบไม่ลืมหูลืมตา บางคนก็ชอบยกคำกล่าวของสลัฟมาอ้างอิงแบบไม่ตรงประเด็น ถ้ายังไงช่วยกรุณาอ่านให้จบด้วยนะครับ จะได้แยกแยะได้มากขึ้นว่าใครที่เราสมควรปกปิดและใครที่เราสมควรเปิดโปงเพื่อเตือนให้สังคมรับรู้ถึงภัยอันตรายที่จะสร้างความหายนะ หรือความเสื่อมโทรมให้แก่สังคมโดยมีสาเหตุมาจากคนๆนั้น ขออัลลอฮฺทรงเมตตาและชี้นำเราทั้งหลายสู่แนวทางที่ถูกต้องเที่ยงตรงด้วยเถิด อามีน เชคอุษัยมีนได้อธิบายเรื่องการปกปิดความผิดหรือตำหนิของผู้อื่นไว้ดังนี้ الحث على الستر على المسلم لقوله: “وَمَنْ سَتَرَ مُسلِمَاً سَتَرَهُ الله في الدُّنيَاوَالآخِرَة”.ส่งเสริมให้มีการปกปิดตำหนิของพี่น้องมุสลิม เนื่องจากคำกล่าวของท่านรอสูลที่ว่า “ผู้ใดก็ตามที่ปกปิด(ตำหนิ)ของพี่น้องมุสลิม อัลลอฮฺจะทรงปกปิด(ตำหนิ)เขาทั้งในโลกนี้และโลกหน้า ولكن دلت النصوص على أن هذا مقيد بما إذا كان الستر خيراً، แต่ทว่า หลักฐานทางบทบัญญัติศาสนาระบุว่าการปกปิดตำหนิในที่นี้ถูกจำกัดวงแคบไว้เฉพาะในเรื่องที่ปกปิดแล้วส่งผลดีกว่า والستر ثلاثة أقسام: และการปกปิดนั้นมีสามประเภทด้วยกันดังนี้ القسم الأول:أن يكون خيراً. ประเภทแรก ปกปิดนั้นส่งผลดี والقسم الثاني: […]

admin

October 13, 2021

ชัยคฺมุฮัมมัด บินอับดุลวะฮาบ

ความสุขนั้นอยู่ใน 3 สิ่งต่อไปนี้

ความสุขนั้นอยู่ใน 3 สิ่งต่อไปนี้ หนึ่ง : การขอบคุณต่อความโปรดปรานที่ได้รับจากอัลลอฮฺสอง : การอดทนต่อบททดสอบสาม : การขออภัยโทษต่อความผิดบาปทั้งหลาย สาระประโยชน์จากคำกล่าวของท่านชัยคฺมุฮัมมัด บุตรของอับดุลวะฮาบ จากบทนำในตำราของท่านที่ชื่อว่า ริซาละฮฺ อัลเกาะวาอิด อัลอัรบะอฺ عنوان السعادة ثلاثة :١- الشكر على نعمة الله تعالى.٢- الصبر على البلاء.٣- الاستغفار للذنوب. الفائدة المستخرجة من كلام الشيخ محمد بن عبد الوهاب في مقدمة رسالته القواعد الأربع. แปลโดย อ.ยะห์ยา หัสการบัญชา Facebook:Yahya Haskanbancha

admin

October 13, 2021

บทความ

มัฏละอฺต่างๆ และการยึดจันทร์เสี้ยวจากการคำ

เรื่องมัฏละอฺต่างๆ และการยึดจันทร์เสี้ยวจากการคำนวณจากข้อเขียน อ.อิสหาก พงษ์มณี เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2557 มวลการสรรเสริญเป็นสิทธิ์ของอัลลอฮ์แต่ผู้เดียว ขอพรและความสันติสุข มีแด่ผู้ที่ไม่มีนบีใดหลังจากท่าน คือนบีมุฮัมหมัดของเรา และขอให้มีต่อวงศ์วานของท่าน ศ่อฮาบะห์ (สาวก) ทั้งหลายของท่านด้วยเทอญ ตามที่มีหนังอังทรงเกียรติ หมายเลข (22451) ลงวันที่ 6/11/ฮศ.1391 โดยมีสาระสำคัญเรื่องเดือนเสี้ยว ที่ให้โอนเรื่องมายังคณะนักวิชาการปราชญ์อาวุโสพิจาณาตามเนื้อหาที่มีการศึกษาในที่ประชุมของ อัร-รอบิเฏาะห์ อัล-อิสลามมี มีขึ้นเมื่อ 15 ชะอฺบาน ปี ฮศ. 1391 และรับทราบผลการประชุมของคณะกรรมการฟิกฮ์ (นิติศาสตร์อิสลาม) ที่ขึ้นตรงต่อที่ประชุมฯ โดยมีมติเห็นชอบว่า “ไม่ยึดความแตกต่างของมะฏละอฺเป็นหลักในการพิจารณา” เพียงแต่สมาชิกสภาก่อตั้งบางท่านเห็นว่าควรจะชะลอเรื่องนี้ไว้ก่อนและให้ทำการค้นคว้าศึกษาเพิ่มเติมให้กว้างขวางยิ่งขึ้นที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ ตามเหตุผลข้างต้น จึงได้มีการเสนอสิ่งที่คณะกรรมการถาวรเพื่อการวิจัยและตอบปัญหาศาสนาได้จัดทำขึ้นในเรื่องเกี่ยวกับจันทร์เสี้ยว ไปยังที่ประชุมคณะนักวิชาการปราชญ์อาวุโสที่มีขึ้นในเดือนชะอฺบานปี ฮศ. 1391 ซึ่งประกอบไปด้วยสองวรรค(สำคัญ)ดังต่อไปนี้ก. ข้อตัดสินชี้ขาดเกี่ยวกับความแตกต่างของอัฏละอฺ ต้องนำมาพิจราณายึดถือหรือไม่ข. การยืนยันจันทร์เสี้ยวด้วยการคำณวน เช่นเดียวกับมติของรอบิเฏาะห์อัลอาลัม อัลอิสลามี่ ในการประชุมครั้งที่สิบสามจัดขึ้นเมื่อเดือนชะอฺบานปี ฮศ. 1391 โดยแนบบทวิจัยของคณะกรรมการฟิกห์ (นิติศาสตร์อิสลาม) ที่เป็นปัญหาจากสมาชิกของที่ประชุมรอบิเฏาะห์เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว หลังจากที่ […]

admin

October 13, 2021

บทความ

การอวยพรในวันปีใหม่อิสลามและปีใหม่สากล

เรื่องการอวยพรในวันปีใหม่อิสลามและปีใหม่สากล โดยชัยคฺมูฮัมมัดบินศอลิห์ อุษัยมีน(ขออัลลอฮฺทรงเมตตาท่านด้วยเถิด)อ.ยะห์ยา หัสการบัญชา แปล คำถาม ข้อตัดสิน(หุก่ม)ของการอวยพรในวันขึ้นปีใหม่ อย่างที่ผู้คนได้ทำกัน เช่นการอวยพรว่า ขอให้ท่านได้รับความดีงามในทุกๆปี (กุลลุอาม วะอันตุม บิค็อยรฺ) คืออะไร? คำตอบ การอวยพรเนื่องในวันขึ้นปีใหม่นั้น ไม่มีแบบอย่างและแนวทางมาจากชาวสลัฟผู้ทรงธรรม ดังนั้นการละทิ้งการอวยพรในวันขึ้นปีใหม่นั้นดีกว่า แต่หากว่าคนๆหนึ่งต้องการอวยพร(มุสลิม)สักคนที่เขาใช้ชีวิตในปีที่ผ่านมาหมดไปกับการเคารพเชื่อฟังอัลลอฮฺ เขาจึงอวยพรให้คนๆนี้ได้มีอายุที่ยืนยาวเพื่อทำการเคารพภักดีต่ออัลลอฮฺในปีใหม่ที่มาถึงนี้ ก็ถือว่าการอวยพรในลักษณะเช่นนี้ไม่เป็นไร เพราะคนที่ดีที่สุดคือคนที่มีอายุยืนยาวโดยใช้ชีวิตที่ยืนยาวหมดไปกับการทำความดี แต่ต้องเน้นย้ำให้เข้าใจชัดเจนว่า “นี่คือการอวยพรเนื่องในวันขึ้นปีใหม่ของฮิจเราะฮฺศักราช(ศักราชอิสลาม)เท่านั้น” ส่วนการอวยพรเนื่องในวันขึ้นปีใหม่ของคริสต์ศักราช ไม่ถือว่าเป็นที่อนุญาต เนื่องจากมันมิใช่วันปีใหม่ตามบทบัญญัติศาสนาอิสลาม แต่มันเป็นวันที่ต่างศาสนิกอวยพรกันและกันในวันนั้น ดังนั้น(มุสลิม)ผู้ที่อวยพรกันในวันปีใหม่ที่ไม่ใช่ของอิสลาม จึงตกอยู่ในมหันตภัยที่ร้ายแรงอย่างยิ่ง เพราะพวกเขากำลังอวยพรกันในวันเฉลิมฉลองที่มิใช่ของอิสลาม และเพราะว่าการอวยพรกันในวันขึ้นปีใหม่ที่ไม่ใช่ของอิสลามจะยิ่งเพิ่มความพอใจ ภูมิใจในวันรื่นเริงเฉลิมฉลองของต่างศาสนิก และความรักและพอใจกับวันเฉลิมฉลองของต่างศาสนิกอาจจะเป็นสาเหตุที่ทำให้มุสลิมคนนั้นหลุดออกนอกกรอบของศาสนาอิสลามด้วย ดังที่ท่านอิมามอิบนุลก็อยยิมได้เขียนไว้ในตำราของท่านที่ชื่อว่า”อะหฺกาม อะฮฺลิซซิมมะฮฺ” “โดยสรุปคือ การอวยพรเนื่องในวันขึ้นปีใหม่ของอิสลามนั้น การละทิ้งมันถือว่าเป็นทางที่ดีที่สุดโดยไม่ต้องสงสัย เพราะมันไม่มีแบบอย่างและแนวทางมาจากยุคสลัฟ แต่หากว่ามุสลิมคนใดอวยพรในวันขึ้นปีใหม่ของอิสลาม ก็ถือว่าเขาไม่มีความผิดบาป ส่วนการอวยพรเนื่องในวันขึ้นปีใหม่สากล(คริสต์ศักราช)นั้น ไม่อนุญาตให้กระทำ” อ่านจบแล้ว ถามตัวเอง แล้วเลือกเอาเองครับว่า จะเลือกรับความรู้จากปราชญ์ตามแนวทางสลัฟผู้ทรงคุณวุฒิที่ไม่ตอบปัญหาหรือตัดสินเรื่องใดด้วยความคิดเห็นส่วนตัว ไม่เอาความเห็นและมุมมองส่วนตัวมานำหน้าหลักคำสอนอิสลาม หรือจะเลือกรับความรู้จากคนที่ตรงกันข้าม ถามตัวเองดูครับ น่าจะได้คำตอบสุดท้ายที่ชัดเจนไม่ยากหรอก ขออัลลอฮฺทรงเมตตาและนำทางเราทุกคนสู่แนวทางที่ถูกต้องและยืนหยัดในแนวทางที่ถูกต้องตลอดไป อามีน คลิปเสียงการตอบปัญหาในเรื่องการอวยพรเฉลิมฉลองวันขึ้นปีใหม่อิสลามและสากล […]

admin

August 10, 2021
1 2 3 6