บทความ

“อัลกุรอานกับรอมฎอน” [VDO+PDF]

เอกสารประกอบการบรรยาย ความสำคัญของอัลกุรอานกับรอมฎอน : https://drive.google.com/file/d/1xrIIWihdKUn0u4SOasOqvmXMbRSixd-Q/view?usp=sharing ความประเสริฐของอัลกุรอาน https://drive.google.com/file/d/0B1GUIBc3UMZRWV9nX2ZjaWJldXc/view?usp=sharing “อัลกุรอานกับรอมฎอน” ตอนที่1 อ.ยะห์ยา หัสการบัญชา “อัลกุรอานกับรอมฎอน” ตอนที่2 อ.ยะห์ยา หัสการบัญชา “อัลกุรอานกับรอมฎอน” ตอนที่3 อ.ยะห์ยา หัสการบัญชา “อัลกุรอานกับรอมฎอน” ตอนที่ 4 อ.ยะห์ยา หัสการบัญชา “อัลกุรอานกับรอมฎอน” ตอนที่5 อ.ยะห์ยา หัสการบัญชา “อัลกุรอานกับรอมฎอน” ตอนที่6 อ.ยะห์ยา หัสการบัญชา “อัลกุรอานกับรอมฎอน” ตอนที่7 อ.ยะห์ยา หัสการบัญชา “อัลกุรอานกับรอมฎอน” ตอนที่8 อ.ยะห์ยา หัสการบัญชา

admin

April 15, 2021

บทความ

ด่าทอ สบถ ขณะที่โมโห จะทำให้เสียศีลอดหรือไม่?

🌷คำถาม : ในเดือนรอมฎอน เมื่อคนๆหนึ่งโมโหในเรื่องใดเรื่องหนึ่งแล้วเขาก็สบถด่าทอในขณะที่เขาโมโหอยู่นั้นจะทำให้การถือศีลอดของเขาเป็นโมฆะ(ใช้ไม่ได้)หรือไม่? 🌷คำตอบ : การถือศีลอดของเขาถือว่ายังไม่เป็นโมฆะ(ยังไม่เสียหาย) แต่ว่าผลบุญการถือศีลอดของเขานั้นบกพร่อง ดังนั้นจำเป็นสำหรับมุสลิมที่จะต้องควบคุมตัวเอง และระวังคำพูดของเขาให้ปลอดจากการด่าทอ นินทา ใส่ร้าย ฯลฯนอกเหนือจากนี้ในสิ่งที่อัลลอฮฺทรงห้ามในขณะถือศีลอดหรือในวาระอื่นๆ โดยเฉพาะในขณะที่ถือศีลอดนั้นถือว่ายิ่งต้องระมัดระวังมากกว่าวาระอื่นๆเป็นพิเศษในการรักษาการถือศีลอดของเขาให้สมบูรณ์มากที่สุด และเขาจะต้องออกห่างจากการทำอันตรายหรือสร้างความเดือดร้อนแก่ผู้อื่น และจะต้องระวังไม่ให้ตนเองเป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดความสับสนวุ่นวายและความเกลียดชังรวมถึงความแตกแยก เนื่องจากท่านนบีมุฮัมมัด ศ็อลลัลลอฮฺ อลัยฮิ วะสัลลัมได้กล่าวว่า “ดังนั้นในวันที่ถือศีลอด คนหนึ่งคนใดในหมู่พวกท่านอย่าได้แสดงพฤติกรรมต่ำทรามหรือโวยวาย ทะเลาะกัน(บางสายรายงาน ระบุว่า เย้ยหยัน)ในวันนั้น และหากว่ามีคนใดคนหนึ่งมาต่อล้อต่อเถียงหรือท้าต่อยท้าตีกับเขา ดังนั้นเขาจงกล่าวกลับไปว่า แท้จริงฉันคือผู้ถือศีลอด” บันทึกโดยอิมามอัลบุคอรีย์และอิมามมุสลิม 📚 อ้างอิงจาก ตำราประมวลคำตอบปัญหาศาสนาโดยคณะกรรมาธิการถาวรเพื่อการค้นคว้าวิชาการและตอบปัญหาแห่งชาติของประเทศซาอุดิอาระเบีย (เล่มที่ 10 หน้าที่ 332-333) 🌷เสริมจากผู้แปล และหากมีความจำเป็นในการถกปัญหาศาสนากันจะต้องให้การถกนั้นอยู่ในกรอบของวิชาการ ส่วนคำหยาบคาย เย้ยหยันตัวบุคคลในเรื่องที่ไม่เกี่ยวกับหลักศาสนานั้นไม่เข้าเป็นส่วนหนึ่งในการพูดคุยในเชิงวิชาการศาสนาที่อิสลามอนุญาตหรือผ่อนผันให้แต่อย่างใด เพราะการดะวะฮฺเชิญชวนผู้คนไปสู่อิสลาม หรือการตักเตือนกันนั้นจะต้องบริสุทธิ์ใจเพื่ออัลลอฮฺ และใช้คำพูดที่ดีไม่หยาบคาย ไม่เย้ยหยัน ไม่ดูถูกกันครับ มิเช่นนั้นแล้ว การสั่งใช้ให้ทำความดีและห้ามปรามให้ออกห่างจากความชั่ว จะแปรเปลี่ยนไปเป็น การสร้างความเสื่อมเสียบนหน้าแผ่นดินแทนครับ ขนาดว่านอกเดือนรอมฎอน การด่าทอ ใส่ร้าย และทำร้ายผู้อื่น ยังมีสิทธิ์เป็นผู้ล้มละลายในวันกิยามะฮฺได้เลย แล้วนี่หากว่าในเดือนรอมฎอนความผิดบาปเหล่านี้จะยิ่งทวีความรุนแรงมากขนาดไหนครับ […]

admin

April 13, 2021

บทความ

แบบอย่างจากชาวสลัฟผู้มีคุณธรรมในการต้อนรับเดือนรอมฎอน

แบบอย่างจากชาวสลัฟผู้มีคุณธรรมในการต้อนรับเดือนรอมฎอน | โดยชัยคฺศอลิหฺ บุตรของ เฟาซาน อัลเฟาซาน แบบอย่างของชาวสลัฟ(ในการต้อนรับเดือนรอมฎอน)ดังที่ถูกบันทึกไว้ในตำราต่างๆด้วยสายรายงานที่ถูกต้องน่าเชื่อถือนั้นก็คือ พวกเขาจะวิงวอนขออัลลอฮฺให้พระองค์ทรงให้พวกเขามีชีวิตยืนยาวมาจนถึงเดือนรอมฎอนก่อนหน้าที่เดือนรอมฎอนจะมาถึงเสียอีก พวกเขาวิงวอนขออัลลอฮฺให้พระองค์ทรงให้พวกเขามีชีวิตยืนยาวมาจนถึงเดือนรอมฎอนก็เพราะพวกเขารู้ถึงความดีและคุณประโยชน์อันมากมายมหาศาลที่อยู่ในเดือนนี้ จากนั้นเมื่อพวกเขาได้มีชีวิตอยู่ในเดือนรอมฎอนแล้ว พวกเขาก็จะวิงวอนขออัลลอฮฺให้พระองค์ทรงช่วยเหลือพวกเขาในการทำความดีงามในเดือนรอมฎอน และเมื่อเดือนรอมฎอนผ่านพ้นไปแล้ว พวกเขาก็จะวิงวอนขออัลลอฮฺให้พระองค์ทรงตอบรับการทำความดีของพวกเขา ดังที่อัลลอฮฺได้ตรัสว่า ‎((وَالَّذِينَ يُؤْتُونَ مَا آتَوا وَّقُلُوبُهُمْ وَجِلَةٌ أَنَّهُمْ إِلَىٰ رَبِّهِمْ رَاجِعُونَ () أُولَٰئِكَ يُسَارِعُونَ فِي الْخَيْرَاتِ وَهُمْ لَهَا سَابِقُونَ)) ความว่า “และบรรดาผู้ที่บริจาคสิ่งที่พวกเขาได้มาโดยที่จิตใจของพวกเขาเปี่ยมไปด้วยความหวั่นเกรงว่าพวกเขาจะต้องกลับไปหาพระเจ้าของพวกเขา ชนเหล่านั้นพวกเขารีบเร่งในการทำความดีทั้งหลาย และพวกเขาคือบรรดาผู้รุดหน้าไปก่อนสำหรับการทำความดีต่างๆ” (ซูเราะฮฺอัลมุอฺมินูน อายะฮฺที่ 60-61) โดยพวกเขา(ชาวสลัฟผู้มีคุณธรรมนำโดยศ่อหาบะฮฺ)เป็นผู้ที่มีความขยันหมั่นเพียรในการทำความดีอย่างมาก หลังจากนั้นพวกเขาก็จะกังวลว่าการทำความดีของพวกเขานั้นจะถูกตอบรับหรือไม่ เพราะพวกเขารู้ถึงความยิ่งใหญ่ของอัลลอฮฺ และพวกเขารู้ว่าอัลลอฮฺจะมิทรงรับการงานใดๆนอกจากการงานที่กระทำด้วยความบริสุทธิ์ใจเพื่อพระองค์เท่านั้นและต้องเป็นการงานที่ถูกต้องตรงตามแบบอย่างของท่านนบีมุฮัมมัดด้วยเช่นกัน ดังนั้นพวกเขาจึงไม่หลงตัวเองและมีความเกรงกลัวว่าการทำความดีของพวกเขานั้นจะสูญเปล่าและไร้ค่า ด้วยเหตุนี้ความกังวลว่าการทำความดีของพวกเขาจะถูกตอบรับหรือไม่ จึงมีมากกว่าความเหน็ดเหนื่อยที่พวกเขาประสบขณะที่ขวนขวายทำความดีเสียอีก เนื่องจากอัลลอฮฺตรัสว่า ‎((إِنَّمَا يَتَقَبَّلُ اللَّهُ مِنَ الْمُتَّقِينَ)) ความว่า “แท้จริงอัลลอฮฺจะทรงตอบรับจากบรรดาผู้ที่ยำเกรงเท่านั้น” (ซูเราะฮฺอัลมาอิดะฮฺ […]

admin

April 13, 2021

บทความ

[PDF]จะรับข่าวการเห็นเดือนอย่างไร?

ชุดบทความ การรับข่าวสารการเห็นดวงจันทร์ เขียนโดย อ.อิสฮาก พงษ์มณี มี 2ตอน สามารถกดลิ้งเพื่อรับเอกสารและดาวน์โหลดฟรี ตอนที่1 https://drive.google.com/file/d/1ltK7zBHEOLM_y1xORwLPfDBIhCrJusmJ/view?usp=sharing ตอนที่2 https://drive.google.com/file/d/1eoX8j1__V1aQyu50Uc9APIK2lTZJuT-u/view?usp=sharing

admin

April 11, 2021

บทความ

ละหมาดแล้วได้อะไร?

ละหมาดแล้วได้อะไร? โดย อ. ดาวูด รอมาน ส่วนหนึ่งของประโยชนคือ:-1- ขจัดปัญหา ความทุกข์ร้อนท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม เมื่อมีปัญหาอะไรบางอย่างมาประสบในชีวิตของท่าน ท่านก็จะเข้าสู่การละหมาด ซึ่งถือเป็นแนวทางที่ดียิ่งในการแก้ไขปัญหา ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม จะมุ่งเข้าสู่การละหมาดไปหาการเยียวยาจากอัลลอฮฺ สุบหานะฮุวะตะอาลา สิ่งที่ท่านมีปัญหาอยู่ก็ขอความช่วยเหลือจากพระองค์ อัลลอฮ์กล่าวว่า(يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُوا اسْتَعِينُوا بِالصَّبْرِ وَالصَّلاةِ إِنَّ اللَّهَ مَعَ الصَّابِرِينَ)” บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย! จงอาศัยความอดทน และการละหมาดเถิด แท้จริงอัลลออ์นั้นทรงอยู่ร่วมกับผู้อดทนทั้งหลาย” อัลบะกอเราะห์ :153ท่านหุซัยฟะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ได้เล่าเรื่องราวของท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม เกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ว่า كان صلى الله عليه وسلم إذا حزبه أمرٌ فزع إلى الصلاة، وقال: “يَا بِلاَلُ أَقِمِ الصَّلاَةَ، أَرِحْنَا […]

admin

April 6, 2021

บทความ

เราจะพบกันในสวรรค์

เราจะพบกันในสวรรค์ มีคนถามเชคบินบาซว่า : ข้อตัดสินทางศาสนาว่าอย่างไรกับคำพูดที่ว่า(ในสวรรค์เราค่อยเจอกัน อินชาอัลลอฮ์) ขออัลลอฮ์ตอบแทนความดีแก่ท่านด้วยท่านตอบว่า :คำพูดนี้ดี ไม่เป็นไร(พูดได้) เราขออัลลอฮ์ให้เราอยูด้วยกันและพบกันในสรวงสวรรค์ แต่ไม่ต้องกล่าวว่า อินชาอัลลอฮ์หรอก เพราะหากเป็นดุอาอ์ก็ไม่ต้องใช้คำนี้ #อ้างอิงhttp://www.sahab.net/forums/index.php?showtopic=159951 ما حكم القول: (في الجنة نلتقي إن شاء الله) جزاكم الله خيراً؟الشيخ ابن باز:هذا القول طيب ولا بأس به. نسأل الله أن يجمعنا بإخواننا في الجنة وأن نلتقي في الجنة، لكن لا يقول: إن شاء الله، فلا يستثني، بل يقول: نسأل الله […]

admin

April 6, 2021

บทความ

เหตุผลที่ความรักปรองดองกันในหมู่ผู้ที่ยึดมั่นวิถีแห่งสลัฟนั้นยิ่งใหญ่ [อ.ยะห์ยา หัสการบัญชา]

เหตุผลที่ความรักปรองดองกันในหมู่ผู้ที่ยึดมั่นวิถีแห่งสลัฟนั้นยิ่งใหญ่โดย อ.ยะห์ยา หัสการบัญชา 1. ความรักประเภทนี้ไม่สามารถถูกล้มล้างด้วยแนวคิดแบบเล่นพรรคเล่นพวก เพราะความรักประเภทนี้พร้อมจะยืนหยัดอยู่บนความถูกต้องแม้จะมีพวกน้อย หรือเพียงลำพังก็ตาม.2. ความรักประเภทนี้ผลประโยชน์ที่หอมหวนเย้ายวนใจไม่สามารถหลอกลวงหรือซื้อได้ เพราะความรักประเภทนี้คำนึงถึงผลประโยชน์ในโลกหน้าเป็นสำคัญ และมีความสุขกับปัจจัยหะลาลที่ได้รับแม้จะน้อยนิด.3. ความรักประเภทนี้ไม่คำนึงว่าคุณสังกัดองค์กรใด หรือจบจากสถาบันไหน เพราะความรักประเภทนี้คำนึงว่าคุณยึดมั่นแนวทางใดเป็นสิ่งสำคัญสูงสุด.4. ความรักประเภทนี้ไม่คล้อยตามกระแสสังคมที่เปลี่ยนไปเปลี่ยนมา เพราะความรักประเภทนี้ตั้งตระหง่านและยืนหยัดอยู่ในแนวทางและวิถีที่มั่นคงไม่แปรผัน แม้ว่าจะผ่านไปกี่ยุคกี่สมัย หรือไม่ว่าจะไปอยู่ที่ใดก็ตามในโลกใบนี้.5. ความรักประเภทนี้ไม่สุดโต่งหรือหย่อนยานเพราะความรักประเภทนี้ตั้งอยู่บนความเป็นกลางตามที่ท่านนบีและชาวสลัฟได้เป็นแบบอย่างไว้ เพราะความเป็นกลางที่แท้จริงไม่ได้อยู่ที่ใครหน้าไหนเป็นผู้กำหนด เว้นแต่เป็นแนวทางและคำสอนของอัลลอฮฺและเราะสูลฯที่ได้กำหนดไว้.6. ความรักประเภทนี้จะไม่นำพาไปสู่การแตกแยกกัน เพราะความรักประเภทนี้ผลักดันให้รักและสามัคคีกันบนความถูกต้อง แต่ถ้าหากต้องแตกหักกับผู้ที่ดื้อดึงและจมปลักอยู่กับความหลงผิด ก็เป็นการแตกในแบบที่ถูกต้อง ไม่ใช่เป็นการแตกแยกในเรื่องที่มักง่ายหรือค้านกับแนวทางอันถูกต้อง.7. ความรักประเภทนี้ไม่รักและโกรธเกลียดใครเพราะผลประโยชน์หรือเหตุผลที่ไร้ค่า และไม่ให้ท้ายคนทำผิด หรือขัดขวางคนทำดี เพราะความรักประเภทนี้สอนให้รักกันเพื่ออัลลอฮฺ โกรธเกลียดกันเพื่ออัลลอฮฺ เป็นสิ่งสำคัญสูงสุด.8. ความรักประเภทนี้ไม่ใช่ความรักที่ได้มาแบบมักง่าย หรือฉาบฉวย ไม่ใช่ความรักที่ใครก็สามารถอ้างได้ เพราะบทพิสูจน์ความรักประเภทนี้ดูที่การปฏิบัติและวิถีที่ดำเนิน ไม่ใช่เพียงคำอวดอ้างลอยลมเท่านั้น.9. ความรักประเภทนี้ไม่นำพาไปสู่ความคลั่งใคล้หลงใหลในตัวบุคคลใดบุคคลหนึ่งจนเกินขอบเขต เพราะความรักประเภทนี้จะสอนให้รู้ว่าจะต้องรักอัลลอฮฺและเราะสูลของพระองค์เหนือกว่าคนอื่นใด ซึ่งจะทำให้เขารู้และเข้าใจว่าการรักใครเกินเลยขอบเขตในนั้นมันคือความหลงและความคลั่งใคล้ ไม่ใช่ความรักที่แท้จริง และมันคือความรู้สึกที่ผลักดันให้คนๆหนึ่งพร้อมจะหลงไปกับคนที่เขารักในทุกๆเรื่อง เพราะเขายึดเอาตัวบุคคลที่เขารักเป็นที่ตั้ง จนลืมไปว่าเขาจะต้องรักอัลลอฮฺและเราะสูลฯเหนืออื่นใด.10. ความรักประเภทนี้จะนำไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงทั้งในโลกนี้และโลกหน้า เพราะเป็นความรักที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของการให้เอกภาพต่ออัลลอฮฺอย่างถูกต้องแท้จริง เป็นความรักที่หล่อมหลอมหัวใจคนมากมายให้เป็นหนึ่งเดียวบนพื้นฐานของสัจธรรมความจริง เป็นความรักประเภทเดียวที่จะแก้ปัญหาความแตกแยกและสร้างสันติสุขให้เกิดขึ้นแก่ประชาชาตินี้ได้ อย่างแท้จริง.-20/11/2017-

admin

April 6, 2021

บทความ

ความรู้ 5 ประเภท มีอะไรบ้าง?

ความรู้ 5 ประเภท มีอะไรบ้าง?โดย อ.ยะห์ยา หัสการบัญชา ท่านชัยคุลอิสลาม อิบนุตัยมียะฮฺได้กล่าวว่าท่านยะห์ยา บุตรของ อัมมาร กล่าวว่า “ความรู้นั้นแบ่งเป็น 5 ประเภทด้วยกันดังนี้ 1.ความรู้ที่มีสถานะเทียบเท่ากับชีวิตในโลกนี้ (ถ้าไม่มีความรู้ประเภทนี้ก็เหมือนคนไร้ชีวิต) คือ ความรู้เรื่องเตาฮีด 2.ความรู้ที่มีสถานะเทียบเท่ากับแหล่งอาหารของศาสนา (ขาดไม่ได้ เพราะคนเราต้องกินอาหารฉันใด คนเราก็ขาดความรู้ประเภทนี้ไม่ได้ฉันนั้น) คือความรู้ที่เกี่ยวกับการพิจารณาความหมายของอัลกุรอานและหะดีษ 3.ความรู้ที่มีสถานะเทียบเท่ายารักษาโรคของศาสนา คือ ความรู้ในเรื่องฟัตวา (การตัดสินและตอบปัญหาศาสนา) เมื่อมีประเด็นปัญหาเกิดขึ้นกับผู้คน แล้วเขาต้องการผู้ที่คลี่คลายและเยียวยาเขาให้หายข้องใจจากปัญหานั้น ดังที่อิบนุมัสอูดได้เคยกล่าวไว้ 4.ความรู้ที่มีสถานะเทียบเท่าโรคร้ายที่เกิดขึ้นในศาสนา คือความรู้ที่เกี่ยวกับคำพูดแปลกปลอมต่างๆ (เช่นตรรกะและปรัชญาต่างๆที่ค้านกับคำสอนอิสลาม) 5.ความรู้ที่มีสถานะเทียบเท่าสิ่งที่มาสร้างความหายนะให้ศาสนา คือ ความรู้เรื่องไสยศาสตร์ และความรู้อื่นๆในทำนองนี้” จากตำรา มัจมัวะอฺ อัลฟะตาวา เล่มที่ 10 หน้าที่ 145-146ข้อความในวงเล็บคือคำอธิบายเสริมจากเจ้าของเฟสนี้ อ.ยะห์ยา หัสการบัญชา العُلُومُ خَمْسَةٌقال شيخ الإسلام ابن تيمية -رحمه الله-:“قَالَ يَحْيَى […]

admin

April 6, 2021
1 5 6