ตับลีฆ

ที่มาของกลุ่มตับลีฆและข้อผิดพลาดจากหนังสือของกลุ่ม

แรงกระเพื่อมจากญะมาอะห์ตับลีฆและคนเกาะกระแสด่า ตามที่มีกระแสว่าทางการซาอุฯ (กระทรวงกิจการศาสนา) มีหนังสือเวียนให้คอเต็บแต่ละมัสยิดทั่วราชอาณาจักรคุตบะห์เตือนถึงอันตรายของความเชื่อแบบกลุ่มญะมาอะห์ตับลีฆ ปรากฏว่าในบ้านเรามีแรงกระเพื่อมจากคนหลายกลุ่มวิพากษ์วิจารณ์เนื้อหาของคุตบะห์ของบางมัสยิดในซาอุฯ ประเด็นที่ดูเหมือนจะจับมาเล่นกันคือ มีคอเต็บบางท่านกล่าวว่าญะมาอะห์นี้เรียกร้องไปสู่การกราบไหว้กุโบร์ ซึ่งคนที่วิจารณ์เขาบอกว่าประเด็นนี้มั่วมาก และบางคนลามเลยไปจาบจ้วงคนซาอุฯ ทั้งหมดว่า “ใส่แว่นดำ” สาเหตุที่มีการวิพากษ์วิจารณ์คือ คนที่ออกกับญะมาอะห์เขายืนยันว่าไม่ปรากฏว่ามีการเชิญชวนให้ไปกราบไหว้กุโบร์ที่ไหน บางคนก็บอกว่ามีเพื่อนเป็นคนในญะมาอะห์ ถามดูก็ได้รับคำยืนยันว่าไม่มี เลยตัดสินใจกล่าวหาผู้รู้ซาอุฯ พวกใส่ “แว่นดำ” (คือมองผู้อื่นผิดไปหมด) ความขุ่นเคืองใจหรือความไม่พอใจเหล่านี้พุ่งตรงไปที่คำว่า “เรียกร้องให้ไปกราบไหว้กุโบร์” จริงๆ แล้วผมเองก็ยังมิได้ยินกับหูครับว่ามีผู้รู้ท่านไหนพูดเฉพาะเจาะจงแบบนั้น แต่ที่ได้เห็นก็คือโพสต์ของคนที่ออกมาวิพากษ์วิจารณ์นั่นเอง เรื่องของญะมาอะห์ตับลีฆ มีงานเขียนค่อนข้างมากอยู่ และเคยมีวิทยานิพนธ์ของนักศึกษาชาวปากิสถานถ้าจำไม่ผิดน่าจะชื่อว่า บัยยาน มุฮัมหมัด อัสลัม ซึ่งนำเสนอแก่มหาวิทยาลัยอิสลามียะห์แห่งมะดีนะห์มุเนาวะเราะห์ เมื่อหลายปีมาแล้ว โดยใช้ชื่อหนังสือว่า عقيدة جماعة التبليغ وافكارمشايخها นอกเหนือจากนี้ยังมีตำราอีกมากมายเกี่ยวกับที่ไปที่มาของญะมาอะห์นี้ ซึ่งคงจะเอามาแนะนำกันภายหลังเพราะเกรงจะยืดยาว ตำราเกือบทุกเล่มล้วนชี้ไปที่พื้นฐานอะกีดะห์และแนวทางของผู้ก่อตั้งรวมถึงบรรดาผุ้สืบสานแนวทางดังกล่าวว่ายึดแนวศูฟีเป็นหลัก มีการให้และรับสัตยาบัน(มุบายะอะห์) ลักษณะศูฟียะห์โดยเฉพาะอย่างยิ่งสาย “ญัชตียะห์” ศูฟีเกือบทุกสายนิยมให้ความสำคัญกับกุโบร์ของโต๊ะวะลีกะรอมัต และมักจะนำศพคนระดับดังกล่าวไปฝังไว้ในมัสยิดเพื่อไว้เยี่ยมเยือนและตะวัสซุ้ล ดังนั้นจึงไม่แปลกหากคุตบะห์ของบรรดาอิหม่ามในซาอุฯ จะจับประเด็นนี้ขึ้นมาพูด และนั่นเป็นการพูดถึงระดับแกนนำผู้ก้อตั้งญะมาอะห์ ไม่ใช่พูดถึงระดับปลายแถวทั่วไป เพราะในระดับปลายแถวโดยทั่วไปก็ไม่มีการให้สัตยาบันใดๆ เช่นกัน ดังนั้นการสอบถามเอาแต่เฉพาะคนปลายแถว อาจจะไม่ใช่คำตอบสุดท้ายถ้ายังมิได้ลงลึกศึกษาอย่างแท้จริงต่อที่ไปที่มาของญะมาอะห์ดังกล่าว เมื่อยังไม่ทราบแน่ชัดก็ไม่ควรรีบร้อนไปกล่าวหา “ผู้รู้ซาอูฯ […]

admin

February 27, 2022

QA-ถามตอบ

หนังสือศาสดาพยากรณ์ อ่านได้หรือไม่? [ฟัตวาลัจนะฮฺฯ]

หนังสือของนาย “อาลี อักบัร” ****************************** เว็ปต์ไซต์ของก๊อดยานีสำนักละโฮร ภูมิใจนำเสนอผลงานชิ้นโบว์แดงของนักเขียนเขา โดยให้ดาวน์โหลดฟรีในรูปพีดีเอฟไฟล์ (PDF) ก่อนที่จะกล่าวหากันว่าใส่ร้าย เบิ่งตาดูภาพด้านล่างนี้เสียก่อนครับ ตำราเล่มนี้เข้าใจว่ามีคนเอามาแปลเป็นไทยและยังเผยแพร่อยู่ในขณะนี้ การแปลนั้นอาจจะนานมาแล้ว แต่หนังสือนี้ได้รับความนิยมในหมู่นักอ่าน นักวิชาการ นักศึกษา และบางคนก็เข้าเลือดเข้าเนื้อไปแล้ว หนังสือชื่อว่า ” Prophecies of the Holy Quran” และเข้าใจว่าคือหนังเล่มเดียวกันกับ “ศาสนดาพยากรณ์” เมื่อแปลเป็นไทยแล้ว ในเล่มมีการกล่าวถึง Prophecies in Relation to the Appearance of Al-Masih Al-Dajjal (The Anti-Christ) and Yajuj (Gog) and Majuj (Magog) มะเสี๊ยฮุลดัจญาล ยะอ์ญูดมะอ์ญูด คือกล่าวถึงตามแบฉบับของก๊อดยานีนะครับ ไม่ใช่แบบที่เรารู้และเข้าใจกัน ใครมีไว้บ้างครับระวังลูกหลานจะดื่มด่ำรสพระธรรมคำสอนของก๊อดยานนะครับ หากใครมีก็รีบๆ นำออกไปเผาหรือฝังดินเสีย ป้องกันการแพร่เชื้อความคิดความเชื่อแบบก๊อดยานีนะครับ คำถาม : ในประเทศไทยเมื่อปีที่แล้ว […]

admin

February 21, 2022

บทความ

อิบนุตัยมียะห์บอกเมาลิดทำได้จริงหรือ ?

อิบนุตัยมียะห์บอกเมาลิดทำได้จริงหรือ ? กรณีที่มีบางคนนำเสนอว่า ท่านชัยคุลอิสลาม อิบนุ ตัยมียะห์ ร่อฮิมะฮุลลอฮ์ ได้กล่าวไว้ว่า فتعظيم المولد، واتخاذه موسمًا، قد يفعله بعض الناس، ويكون له فيه أجر عظيم لحسن قصده، وتعظيمه لرسول الله صلى الله عليه وسلم، كما قدمته لك أنه يحسن من بعض الناس، ما يستقبح من المؤمن المسدد اقتضاء صراط المستقيم(2/ 125) “การให้ความสำคัญกับเมาลิดและยึดเป็นเทศกาลนั้น ก็อาจมีบางคนทำเช่นนั้นจริงๆ โดยที่เขา (อาจ) ได้รับรางวัลตอบแทนยิ่งใหญ่ด้วยเหตุแห่งเจตนาอันดีของเขา และด้วยการที่เขาให้เกียรติต่อท่านร่อซูลุลลอฮ์ ศ้อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม เหมือนอย่างที่ได้นำเสนอไปแล้วว่าบางสิ่งบางอย่างที่คน(ทั่วไป)เห็นว่ามันดี […]

admin

October 17, 2021

บทความ

การอวยพรในวันปีใหม่อิสลามและปีใหม่สากล

เรื่องการอวยพรในวันปีใหม่อิสลามและปีใหม่สากล โดยชัยคฺมูฮัมมัดบินศอลิห์ อุษัยมีน(ขออัลลอฮฺทรงเมตตาท่านด้วยเถิด)อ.ยะห์ยา หัสการบัญชา แปล คำถาม ข้อตัดสิน(หุก่ม)ของการอวยพรในวันขึ้นปีใหม่ อย่างที่ผู้คนได้ทำกัน เช่นการอวยพรว่า ขอให้ท่านได้รับความดีงามในทุกๆปี (กุลลุอาม วะอันตุม บิค็อยรฺ) คืออะไร? คำตอบ การอวยพรเนื่องในวันขึ้นปีใหม่นั้น ไม่มีแบบอย่างและแนวทางมาจากชาวสลัฟผู้ทรงธรรม ดังนั้นการละทิ้งการอวยพรในวันขึ้นปีใหม่นั้นดีกว่า แต่หากว่าคนๆหนึ่งต้องการอวยพร(มุสลิม)สักคนที่เขาใช้ชีวิตในปีที่ผ่านมาหมดไปกับการเคารพเชื่อฟังอัลลอฮฺ เขาจึงอวยพรให้คนๆนี้ได้มีอายุที่ยืนยาวเพื่อทำการเคารพภักดีต่ออัลลอฮฺในปีใหม่ที่มาถึงนี้ ก็ถือว่าการอวยพรในลักษณะเช่นนี้ไม่เป็นไร เพราะคนที่ดีที่สุดคือคนที่มีอายุยืนยาวโดยใช้ชีวิตที่ยืนยาวหมดไปกับการทำความดี แต่ต้องเน้นย้ำให้เข้าใจชัดเจนว่า “นี่คือการอวยพรเนื่องในวันขึ้นปีใหม่ของฮิจเราะฮฺศักราช(ศักราชอิสลาม)เท่านั้น” ส่วนการอวยพรเนื่องในวันขึ้นปีใหม่ของคริสต์ศักราช ไม่ถือว่าเป็นที่อนุญาต เนื่องจากมันมิใช่วันปีใหม่ตามบทบัญญัติศาสนาอิสลาม แต่มันเป็นวันที่ต่างศาสนิกอวยพรกันและกันในวันนั้น ดังนั้น(มุสลิม)ผู้ที่อวยพรกันในวันปีใหม่ที่ไม่ใช่ของอิสลาม จึงตกอยู่ในมหันตภัยที่ร้ายแรงอย่างยิ่ง เพราะพวกเขากำลังอวยพรกันในวันเฉลิมฉลองที่มิใช่ของอิสลาม และเพราะว่าการอวยพรกันในวันขึ้นปีใหม่ที่ไม่ใช่ของอิสลามจะยิ่งเพิ่มความพอใจ ภูมิใจในวันรื่นเริงเฉลิมฉลองของต่างศาสนิก และความรักและพอใจกับวันเฉลิมฉลองของต่างศาสนิกอาจจะเป็นสาเหตุที่ทำให้มุสลิมคนนั้นหลุดออกนอกกรอบของศาสนาอิสลามด้วย ดังที่ท่านอิมามอิบนุลก็อยยิมได้เขียนไว้ในตำราของท่านที่ชื่อว่า”อะหฺกาม อะฮฺลิซซิมมะฮฺ” “โดยสรุปคือ การอวยพรเนื่องในวันขึ้นปีใหม่ของอิสลามนั้น การละทิ้งมันถือว่าเป็นทางที่ดีที่สุดโดยไม่ต้องสงสัย เพราะมันไม่มีแบบอย่างและแนวทางมาจากยุคสลัฟ แต่หากว่ามุสลิมคนใดอวยพรในวันขึ้นปีใหม่ของอิสลาม ก็ถือว่าเขาไม่มีความผิดบาป ส่วนการอวยพรเนื่องในวันขึ้นปีใหม่สากล(คริสต์ศักราช)นั้น ไม่อนุญาตให้กระทำ” อ่านจบแล้ว ถามตัวเอง แล้วเลือกเอาเองครับว่า จะเลือกรับความรู้จากปราชญ์ตามแนวทางสลัฟผู้ทรงคุณวุฒิที่ไม่ตอบปัญหาหรือตัดสินเรื่องใดด้วยความคิดเห็นส่วนตัว ไม่เอาความเห็นและมุมมองส่วนตัวมานำหน้าหลักคำสอนอิสลาม หรือจะเลือกรับความรู้จากคนที่ตรงกันข้าม ถามตัวเองดูครับ น่าจะได้คำตอบสุดท้ายที่ชัดเจนไม่ยากหรอก ขออัลลอฮฺทรงเมตตาและนำทางเราทุกคนสู่แนวทางที่ถูกต้องและยืนหยัดในแนวทางที่ถูกต้องตลอดไป อามีน คลิปเสียงการตอบปัญหาในเรื่องการอวยพรเฉลิมฉลองวันขึ้นปีใหม่อิสลามและสากล […]

admin

August 10, 2021

บทความ

บิดอะฮฺลำดับแรกๆ

บิดอะฮฺลำดับแรกๆ قال شيخ الإسلام ابن تيمية رحمه الله : “وكانت البدع الأولى مثل ” بدعة الخوارج ” إنما هي من سوء فهمهم للقرآن لم يقصدوا معارضته لكن فهموا منه ما لم يدل عليه فظنوا أنه يوجب تكفير أرباب الذنوب ; إذ كان المؤمن هو البر التقي . قالوا : فمن لم يكن برا تقيا فهو […]

admin

July 20, 2021

บทความ

“อิหม่ามชาฟิอีย์และศิษยานุศิษย์” เกี่ยวกับ “กุโบร์ (หลุมศพ-สุสาน)”

“อิหม่ามชาฟิอีย์และศิษยานุศิษย์” เกี่ยวกับ “กุโบร์ (หลุมศพ-สุสาน)” โดย อ.อิสหาก พงษ์มณี 1 -ห้ามก่ออิฐฉาปปูนหลุมศพ (1) 2-ห้ามก่อหลุมศพให้สูง (เกินหลักการ) (2) 3-ห้ามสร้างสิ่งปลูกสร้างใดบนหลุมศพ (3) 4-ห้ามเขียนสิ่งใดๆ บนหลุมศพ (4) 5-ห้ามติดประทีปโคมไฟบนหลุมศพ (5) 6-ห้ามยึดเอาสุสานเป็นมัสยิด (6) 7-ห้ามละหมาด(โดยเจตนา)หันหน้าไปทางหลุมศพ (7) 8-ห้ามขอดุอาอ์(โดยโจงใจ)หันหน้าไปทางหลุมศพ (8) 9-ห้ามฏ่อวาฟ (เดินเวียนรอบเพื่อแสดงความเคารพ) รอบหลุมศพ (9) 10-ห้ามนั่งบนหลุมศพ (10) 11-ห้ามจูบหรือลูบ (ลักษณะเคารพ) หลุมศพ (11) 12-ห้ามกางร่มให้หลุมศพ (12) หลักฐานอ้างอิง :(1) لما أخرجه مسلم وغيره قال: (نهى رسول الله صلى الله عليه وسلم عن تجصيص القبر […]

admin

June 20, 2021

บทความ

ซุนนะฮ์และบิดอะฮ์เดือนมุหัรร็อม

ซุนนะฮ์และบิดอะฮ์เดือนมุหัรร็อม มุหัรร็อมเป็นเดือนลำดับแรกของปฏิทินอิสลาม เป็นเดือนที่มีความสำคัญอย่างยิ่งอีกหนึ่งเดือน เป็นเดือนที่มีซุนนะฮฺให้ถือศีลอด  เป็นเดือนที่มีวันสำคัญและเป็น 1 ใน 4 เดือนต้องห้ามก่อสงคราม  อัลลอฮฺซุบฮานะฮูวะตะอาลากล่าวไว้ว่า [إِنَّ عِدَّةَ الشُّهُورِ عِنْدَ اللَّهِ اثْنَا عَشَرَ شَهْرًا فِي كِتَابِ اللَّهِ يَوْمَ خَلَقَ السَّمَاوَاتِ وَالْأَرْضَ مِنْهَا أَرْبَعَةٌ حُرُمٌ]     التوبة 36 “แท้จริงจำนวนเดือน ณ อัลลอฮ์นั้นมีสิบสองเดือน ในคัมภีร์ของอัลลอฮ์ตั้งแต่วันที่พระองค์ทรงสร้างบรรดาชั้นฟ้าและแผ่นดินจากเดือนเหล่านั้นมีสี่เดือน ซึ่งเป็นเดือนที่ต้องห้าม…”  (อัตเตาบะฮฺ : 36) เดือนต้องห้ามทั้ง 4 เดือน คือเดือนซุลเกาะดะฮฺ ซุลหิจญะฮฺ และมุหัรร็อม และเดือนเราะญับ ซึ่งมีรายงานจากท่านอบูบักเราะฮฺว่า ท่านนบีศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมได้กล่าวว่า اَلسَّنَةُ اثْنَا عَشَرَ شَهْرًا مِنْهَا أَرْبَعَةٌ حُرُمٌ ثَلاَثَةٌ مُتَوَالِيَاتٌ ذُوْ الْقَعْدَةِ وَذُوْ الْحِجَّةِ وَالْمُحَرَّمُ وَرَجَبُ مُضَرَ الَّذِيْ بَيْنَ جَمَادَى وَشَعْبَانَ ]   رواه البخاري ومسلم “…หนึ่งปีมีสิบสองเดือน ในจำนวนเดือนเหล่านั้นมีสี่เดือนต้องห้าม สามเดือนอยู่ติด กัน  คือ ซุลเกาะดะฮฺ  ซุลหิจญะฮฺ  มุหัรร็อม และเดือน เราะญับ ซึ่งอยู่ ระหว่างเดือนญะมาดา และชะอฺบาน ”  (บันทึกโดยบุคอรียฺ   มุสลิม  )  คำว่า “เดือนต้องห้าม ” หมายถึง ห้ามทำการสู้รบ และห้ามการล้างแค้นกันซึ่งมีมาในสมัยญาฮิลิยะฮฺ ทั้งนี้ เพื่อนำไปสู่การยุติการเข่นฆ่ากัน และปลูกฝังการ อิหม่านต่ออัลลอฮฺภายในจิตใจ อันจะทำให้พวกเขาลืมและเลิกประเพณีที่ไม่ดีงาม ซึ่งมีมาแต่เดิม  ขณะเดียวกันก็เพื่อจะได้ใช้ช่วงเวลาที่มีความสงบ เดินทางไปประกอบพิธีฮัจญ์และอุมเราะฮฺ เดินทางไปทำการค้าขายและประกอบอาชีพ  ชาวอาหรับจะใช้เดือนซุลเกาะดะฮฺ เพื่อเตรียมตัวเดินทางไปประกอบพิธฮัจญฺและไปค้าขายยังเมืองมักกะฮฺ ใช้เวลาในเดือนซุลฮิจญะฮฺ เพื่อประกอบพิธีฮัจญฺ และซื้อขายสินค้าระหว่างกัน และใช้เวลาในเดือนมุหัรร็อม เพื่อเตรียมตัวเดินทางกลับ ส่วนการห้ามทำสงคราม ในเดือนเราะญับก็เพื่อเปิดโอกาสให้ชาวอาหรับเดินทางไปทำอุมเราะฮฺ และหยุดพักผ่อนเพื่อ ทำการค้าขายและประกอบอาชีพ   ซุนนะฮ์เดือนมุฮัรรอมคือ การถือศีลอดมาก ๆ              ท่านอบูฮุรอยเราะฮฺ เล่าว่าท่านร่อซูลุลลอฮฺศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมกล่าวว่า [ أَفْضَلُ الصِّيَامِ بَعْدَ رَمَضَانَ شَهْرُ اللَّهِ الْمُحَرَّمُ وَأَفْضَلُ الصَّلَاةِ بَعْدَ الْفَرِيضَةِ صَلَاةُ اللَّيْلِ ] رواه مسلم “การถือศีลอดที่ประเสริฐที่ สุดหลังจากการถือศีลอดในเดือนรอมฎอนคือการถือศีลอดในเดือนของ อัลลอฮ ฺคืออัลมุหัรร็อมและการละหมาดที่ประเสริฐที่สุดหลังจากละหมาดฟัรฎูคือละหมาดกิยามุลลัยลฺ” (บันทึกโดยมุสลิม  ) ความประเสริฐของการถือศีลอดวันอาชูรออฺ          ท่านอับดุลลอฮฺ อิบนิ อับบาส ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุมาเล่าว่า قَدِمَ النَّبِيُّ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ الْمَدِيْنَةَ فَرَأَى الْيَهُوْدَ تَصُوْمُ يَوْمَ عَاشُوْرَاءَ فَقَالَ مَاهَذَا  قَلُوْا هَذَا يَوْمٌ صَالِحٌ هَذَا يَوْمٌ نَجَّى اللهُ بَنِيْ إِسْرَائِيْلَ مِنْعَدُوِّهِمْ فَصَامَهُ مُوْسَى قَالَ فَأَنَا أَحَقُّ بِمُوْسَى مِنْكُمْ فَصَامَهُ وَأَمَرَ بِصِيَامِهِ] رواه البخاري وأحمد “เมื่อท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมเดินทางถึงนครมะดีนะฮฺ ท่านได้เห็นชาวยะฮูดีย์ถือศีลอดในวันอาชูรออฺ […]

admin

June 20, 2021