ความเข้าใจเกี่ยวกับผู้นำในอิสลาม

อัลอิมามะหฺ
(ความเข้าใจเกี่ยวกับผู้นำในอิสลาม)
เรียบเรียงโดย อ.อิสหาก พงษ์มณี

ชัยคุ้ลอิสลาม อิบนุตัยมียะห์ ให้ความหมายไว้ว่า

قال ابنُ تَيمِيَّةَ: (الإمامُ هو الَّذي يُؤتَمُّ به، وذلك على وَجهَينِ:

أحَدُهما: أن يَرجِعَ إليه في العِلمِ والدِّينِ بحَيثُ يُطاعُ باختيارِ المُطيعِ؛ لكَونِه عالِمًا بأمرِ اللهِ عَزَّ وجَلَّ آمِرًا به، فيُطيعُه المُطيعُ لذلك، وإن كان عاجِزًا عن إلزامِه الطَّاعةَ.

والثَّاني: أن يَكونَ صاحِبَ يَدٍ وسَيفٍ، بحَيثُ يُطاعُ طَوعًا وكَرْهًا؛ لكَونِه قادِرًا على إلزامِ المُطيعِ بالطَّاعةِ.

وقَولُه تعالى: يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُوا أَطِيعُوا اللَّهَ وَأَطِيعُوا الرَّسُولَ وَأُولِي الْأَمْرِ مِنْكُمْ [النساء: 59] قد فُسِّر بالأمراءِ بذَويِ القُدرةِ كأُمراءِ الحَربِ، وفُسِّر بأهلِ العِلمِ والدِّينِ، وكِلاهما حَقٌّ)

((منهاج السنة النبوية)) (4/106).

“ผู้นำคือผู้ที่ถูกตาม ซึ่งมีสองมุมคือ

มุมที่หนึ่ง เป็นแหล่งอ้างอิงและเป็นหลักของความรู้และศาสนา ผู้ตามก็เลือกตามได้โดยเสรี เหตุเพราะเขาคือผู้รู้ในคำสั่งของอัลลอฮฺและสั่งใช้ตามนั้น ดังนั้นผู้ตามก็ย่อมเชื่อฟังด้วยเหตุดังกล่าว แม้เขาจะไม่มีอำนาจบังคับใครให้ตาม

มุมที่สอง คือผู้มีอำนาจในมือ และต้องเชื่อฟังเขาทั้งสมัครใจและไม่สมัครใจ เหตุเขามีอำนาจบังคับให้เชื่อฟังเขา

และดำรัสของอัลลอฮฺที่ว่า

“จงเชื่อฟังอัลลอฮฺ จงเชื่อฟังร่อซูลและอูลิ้ลอัมริของพวกเจ้า” (อันนิซาอฺ:59)

“อูลิ้ลอัมริมิงกุ้ม” ได้รับการอธิบายว่าหมายถึงผุ้นำที่มีอำนาจ เช่น ผู้นำศึกและยังได้รับคำอธิบายว่าหมายถึงผู้รู้ทางศาสนา ทั้งสองคำอธิบายนี้ถือว่าถูกต้อง”

ท่านมาวัรดี้ ร่อหิมะฮุ้ลลอฮฺ อธิบายว่า

قال الماوَرديُّ: (الإمامةُ مَوضوعةٌ لخِلافةِ النُّبُوَّةِ في حِراسةِ الدِّينِ وسياسةِ الدُّنيا)

((الأحكام السلطانية)) (ص: 15).

“ผู้นำหมายถึงสืบทอดภาระของนบีในแง่ปกป้องศาสนาและบริหารทางโลก(บ้านเมือง)”

ท่านอิบนุคอลดูน ร่อหิมะฮุลลอฮฺ นิยามว่า

قال ابنُ خَلدون عنِ الإمامةِ هي: (خِلافةٌ عن صاحِبِ الشَّرعِ في حِراسةِ الدِّينِ وسياسةِ الدُّنيا به)

((تاريخ ابن خلدون)) (1/239).

“คือการสืบทอด (อำนาจของ)ผู้บัญญัติ(ศาสนา)ในการปกป้องศาสนาและบริหารดุนยา (บ้านเมือง)”

ข้อสังเกต

1-การพูดถึงคำว่า “ผู้นำ” อย่างพร่ำเพรื่อ โดยไม่ศึกษาให้ละเอียด มักพาคนทั่วไปเข้าใจสับสนกับความของคำๆ นี้

2-ในความเข้าใจของปราชญ์ ผู้นำแยกได้เป็นสองประเภท ผู้นำสูงสุดและผุ้นำย่อย คืออิมามะหฺกุบรอและศุฆรอ

3-อิหม่ามนำละหมาด หัวหน้าคณะเดินทาง ผู้นำกลุ่ม ผู้นำชุมชน และ ฯลฯล้วนเป็นผู้นำย่อยทั้งสิ้น

4-การเชื่อฟังผู้นำย่อย ก็แค่ในขอบเขตอำนาจหน้าที่ๆ เขามีเท่านั้น และหากฝ่าฝืนอาจมีโทษหรือไม่มีก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับคำสั่งของผู้นำสูงสุด ส่วนว่าจะเป็นบาปหรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับว่าฝ่าฝืนในเรื่องใด

5-กรณีผู้นำย่อยเช่นผู้นำละหมาด ก็มีขอบเขตความรับผิดชอบเฉพาะเรื่องละหมาด ผู้นำการเดินทางก็มีขอบเขตความรับผิดชอบเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวกับการเดินทางเท่านั้น หรือหัวหน้าหน่วยงานที่รัฐกำหนดขึ้นก็มีขอบเขตอำนาจตามที่รัฐกำหนดเท่านั้น

6-ส่วนคำว่า “ผู้นำสูงสุด-อัลอิมามะหฺอัลกุบรอ” หมายถึงผุ้ทรงอำนาจเต็มในรัฐๆ หนึ่ง หากฝ่าฝืนเขาก็มีอำนาจในมือที่จะลงโทษได้ การเชื่อฟังเป็นสิ่งจำเป็นในทุกๆ ด้านยกเว้นที่เป็นการฝ่าฝืนอัลลอฮฺและร่อซูลของพระองค์เท่านั้น

ห้ามกระด้างกระเดื่อง ก่อการขบถ หรือวิพากษ์วิจารณ์ในที่สาธารณะ และผุ้นำประเภทนี้คือนัยยะสำคัญของฮะดีษที่ว่า

– أنَّ من مات وليس في عُنقِهِ بيعةٌ فإنَّ مِيتتَهُ جاهليةٌ

“ผู้ใดที่ตายไปในสภาพที่บนคอของเขาไม่มีบัยอะหฺ การตายของเขาอยู่ในสถาพญาฮิลียะหฺ”

คำว่า “บนคอของเขาไม่มีบัยอะหฺ” หมายถึงการไม่ยินยอมน้อมรับผู้นำสูงสุดเมื่อเขาก้าวขึ้นมามีอำนาจเต็มในรัฐนั้นๆ

นัยยะของฮะดีษนี้ไม่เกี่ยวของอะไรกับผู้นำย่อยแต่อย่างใดทั้งสิ้น

และที่สำคัญยิ่งคืออิสลามมิได้แยกว่านี่คือผู้นำสูงสุดของรัฐและนี่คือผู้นำสูงสุดทางศาสนา เพราะอิสลามไม่มีโป๊ป ไม่มีสังฆราช หรือผู้นำสูงสุดทางศาสนาครับ